ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
การขออนุญาตประกอบกิจการ โรงงานนั้น ต้องขออนุญาตก่อนดำเนิการ เปิดกิจการ ให้ถูกต้องเพราะเป็นการประกอบธุรกิจ ที่ต้องมีการควบคุมจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 คือโรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานที่มีแรงม้ารวมของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า และ/หรือ มีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นโรงงานที่มีมลภาวะ เป็นโรงงานที่ต้องรับใบอนุญาตก่อนจึงจะตั้งโรงงานได้ โดยผู้ประกอบการจอต้องทำใบขออนุญาต ได้แก่ แบบ รง.3 คือ แบบคำขอรับใบอนุญาต และแบบ รง.4 คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีแบบ รง.3/1 คือแบบขอต่ออายุใบอนุญาต และ แบบ รง.3/2 คือแบบคำขอรับโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่มีการซื้อ เช่า หรือเช่าซื้อโรงงาน รวมถึงการรับเป็นมรดก เป็นต้น
การขออนุญาตตั้งประกอบกิจโรงงาน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ข้อบังคับ
มาตรา 10 ผู้ประกอบการกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน
กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
มาตรา 11 ผู้ประกอบการกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน
กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว และเมื่อจะเริ่ม
ประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อน
มาตรา 12 ผู้ประกอบการกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต และต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวง
ดังกล่าวและประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 32
ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาต
บทกำหนดโทษ
มาตรา 48 ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตาม
มาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 49 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ผู้ใดแจ้งการประกอบกิจการไม่ถูกต้องครบถ้วน
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 11 วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 วรรคห้า หรือมาตรา 33
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา 50 ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง
หรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่โรงงานตามวรรคหนึ่ง เป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้
ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ใด ตามประกาศที่ออกตามมาตรา 32 (1) ผู้กระทำต้องระวางโทษทั้งจำคุกไม่เกินสี่
ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รายละเอียด ประเภท และ สถานที่ห้ามตั้งโรงงาน
ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ได้แบ่งโรงงานอุตสาหกรรมออกเป็น 3 จำพวก คือ
- โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ประกอบกิจการโรงงาน (ดูรายชื่อตามบัญชีท้ายกระทรวง)
- โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนประกอบกิจการ
(ดูรายชื่อตามบัญชีท้ายกระทรวง)
- โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตก่อนถึงจะ
ประกอบกิจการโรงงานได้ (ดูรายชื่อบัญชีท้ายกระทรวง)
สถานที่ห้ามตั้งโรงงาน
โรงงานจำพวกที่ 1 , จำพวก 2 และ จำพวก 3 ห้ามตั้งโรงงานในสถานที่ดังต่อไปนี้
- บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
- ภายในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา วัด
หรือศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานจำพวก 1, 2 ทำเฉพาะ ข้อ 1 บ้านจัดสรร
ประเภทของโรงงาน ซึ่งมีขึ้นตอนการขออนุญาตต้องผ่าน อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล)
ประเภทโรงงานที่การประกอบกิจการก่อมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม จำนวน 11 รายการ
ดังต่อไปนี้ อยู่ในข่ายโรงงานที่ควรจะต้องผ่านการพิจารณาของสภาตำบลก่อนคือ ในขั้นตอนการพิจารณา
ของอุตสาหกรรมจังหวัด
- โรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน ตามประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 3(1)
- โรงงานประกอบหรือกิจการเกี่ยวกับกระดูกสัตว์ ตามประเภทหรือชนิดโรงงานลำดับที่ 4(3)
- โรงงานทำปลาป่น ตามประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 15(2)
- โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากไม้ เศษผ้าหรือเส้นใย ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่
38(1)
- โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัตถุเคมีซึ่งมิใช้ปุ๋ยตาม
ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 42 ดังต่อไปนี้
5.1 โรงงานอุตสาหกรรมคลอ-แอลคาไลน์ (Chlor-alkaline Industry) ที่ใช้โซเดียมคลอไรด์
(NaC1) เป็นวัตถุดิบในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต (Na2 Co3) โซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH) กรดไฮโดรคลอริน (HC1) คลอรีน (C12) โซเดียมไฮโนคลอไรด์ (NaOC1) และ
ปูนคลอรีน (Bleaching Powder)
5.2 โรงงานอุตสาหกรรมเปโตรเคมีคัล ที่ใช้วัตถุดิบซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ
หรือการแยกก๊าซธรรมชาติ
- โรงงานผลิตสารออกฤทธิ์ หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยกระบวนการ
ทางเคมี ตามประเภทหรือชนิดโรงงานลำดับที่ 43(1)
- โรงงานผลิตปุ๋ยโดยกระบวนการทางเคมี ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 43(1)
- โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตามประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 49
- โรงงานผลิตซีเมนต์ ตามประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 57
- โรงงานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการถลุง หลอมหรือผลิตเหล็ก หรือเหล็กกล้าใน
ชั้น (Iron and Steel Basic Industries) ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ลำดับที่ 59
- โรงงานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการถลุงและหลอมโลหะในชั้นต้นซึ่งมิใช่เหล็ก
หรือเหล็กกล้า (Non-Ferrous Metal Basic Industries) ตามประเภทหรือชนิดโรงงานลำดับที่
ประเภทโรงงานที่ต้องขออนุญาตผ่านศูนย์บริการเพื่อการลงทุน
1. ประเภทของโรงงาน
รายการตามท้ายพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้
1.1 โรงงานทำน้ำตาลทรายแดง ทำน้ำตาลทรายดิบหรือน้ำตาลทรายขาว และโรงงานทำ
น้ำตาลทรายดิบหรือน้ำตาลทรายขาวให้บริสุทธิ์ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน
ลำดับที่ 11(2), 11(3), 11(4)
1.2 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่
15(1) , 15(2)
1.3 โรงงานต้ม กลั่น หรือผสมสุรา โรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ โรงงานทำหรือผสมสุรา
จากผลไม้ และโรงเบียร์ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 16, 17, 18, 19
1.4 โรงงานเลื่อยไม้ และทำไม้วีเนียร์ หรือไม้อัด ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับ
ที่ 34(1), 34(3)
1.5 โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากไม้ หรือวัสดุอื่น ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับ
ที่ 38(1)
1.6 โรงงานผลิตคลอแอลคาไลน์ (Chlor-Alkaline Insustry) ที่ใช้โซเดียมคลอไรด์
(NaCL) เป็น วัตถุดิบ, โซเดียมคาร์บอเนต (Na2 Co3), โซเดียมไฮดรอกไซด์ (HaOH)
กรดไอโดรคลอริค (NCL) คลอรีน (C12), โซเดียมไฮโพคลอไรด์ (NaOCL) และปูน
คลอรีน (Bleaching Powder) และโรงงานอุตสาหกรรมเปโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบซึ่งได้
จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ/หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต
ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 42(1)
1.7 โรงงานผลิตสารออกฤทธิ์หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ โดย
กระบวนการทางเคมี และโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับ
ที่ 43(1)
1.8 โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 49
1.9 โรงงานทำซีเมนต์ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 57(1)
โรงงานจำพวก 1
โรงงานจำพวก 1 คือ โรงงานที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ให้อยู่ในขนาดของโรงงานจำพวก 1
โรงงานจำพวก 1 เป็นโรงงานที่
- ไม่ต้องยื่นขออนุญาต
- ประกอบกิจการได้ทันที
- ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในกฎกระทรวงอันได้แก่
– สถานที่ตั้งโรงงาน
– ลักษณะอาคาร
– เครื่องจักร
– การควบคุมการปล่อยของเสียหรือมลพิษ
โรงงานจำพวก 2
ขั้นตอนการขออนุญาต
ที่ยื่นเอกสาร
กรุงเทพ
– กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ใช้แบบรง.1 2 ชุด
ต่างจังหวัด
– อุตสาหกรรมจังหวัด
ใช้แบบ รง.1 3 ชุด
– เสียค่าธรรมเนียมในวันแจ้ง
และจะได้รับใบรับแจ้งประกอบ
กิจการโรงงานจำพวก 2 (ใบอนุญาต)
เอกสารประกอบการพิจารณา
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน และใบอนุญาตก่อสร้าง
การขออนุญาต
– ตั้งโรงงานได้ทันที แต่ทำเลต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ข้อ 1
– อาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
– เจ้าหน้าที่จะออกตรวจสถานที่ในภายหลังเพื่อตรวจสอบดูว่าตรงกับที่แจ้งเอาไว้หรือไม่
– ไม่ต้องยื่นต่ออายุใบอนุญาตแต่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ในวันครบรอบวันเริ่มประกอบการ
– เมื่อเลิกประกอบกิจการต้องแจ้งเลิก
ยื่นเอกสาร
ชำระค่าธรรมเนียมรายปี
รับใบรับแจ้งประกอบ
กิจการโรงงานจำพวกที่ 2
เริ่มประกอบกิจการ
แบบ รง.1
เอกสารประกอบ
– อัตราค่าธรรมเนียมเท่ากับ
อัตราค่าธรรมเนียมรายปีและขึ้นอยู่
กำลังขับเคลื่อนของเครื่องจักร แต่ไม่เกิน 450 บาท
หลักการเอกสารเพื่อขอ โรงงาน จำพวกที่ 3
1. โรงงานำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงาน ประเภท ชนิด และขนาด ดังบัญชีท้ายกฎกระทรวง พ.ศ.2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ทมีการตังโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน จึงจะดาเนินการได้ ทั้งนี้รวมถ้ามีประกาศของ รัฐมนตรีตามมาตรา 32(1) ให้โรงงานที่กาหนดในประกาศดังกล่าวเป็นโรงงานจาพวกท 3 ด้วย
2. ห้ามตั้งโรงงานจาพวกท 3 ก่อนได้รับใบอนุญาตเว้นแต่การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม
3. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตยื่นคาขอ รง.3 จานวน 3 ฉบับ ยื่นต่อสานักงานอุตสาหกรรม ท้องที่ตั้งโรงงาน
4. เอกสารที่ผู้ขอต้องแสดงพร้อมคำขอ รง.3 มี 5 การในเบื้องต้น
5. แบบแปลนแผนผังและคำอธิบายวิธีป้องกัน มีเบื้องต้น 2 รายการ
5.1 เหตุอันตราย เหตุรำคาญ (ถ้ามี)
5.2 การควบคุมการปล่อยของเสีย/มลพิษ (ถ้ามี)โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
6. รายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (สำหรับโรงงานที่ต้องทำรายการฯตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์
7. แจ้งรายละเอียดมาตรการกาจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงานตามแบบแจ้ง (กรณีมีของเสียอันตราย)
8. กระบวนการผลิต (กรณีโรงงานมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน)
9. หนังสือมอบอานาจ (กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน)
สรุป คือ
โรงงาน หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สำหรับทำ ผลิตประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ได้แบ่งโรงงานอุตสาหกรรมออกเป็น 3 จำพวก คือ
1. โรงงานจำพวกที่ 1 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ประกอบกิจการโรงงาน (ดูรายชื่อตามบัญชีท้ายกระทรวง)
2. โรงงานจำพวกที่ 2 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนประกอบกิจการ
(ดูรายชื่อตามบัญชีท้ายกระทรวง)
3. โรงงานจำพวกที่ 3 คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตก่อนถึงจะ
ประกอบกิจการโรงงานได้ (ดูรายชื่อบัญชีท้ายกระทรวง)
สถานที่ห้ามตั้งโรงงาน
โรงงานจำพวกที่ 1 , จำพวก 2 และ จำพวก 3 ห้ามตั้งโรงงานในสถานที่ดังต่อไปนี้
1. บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
2. ภายในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา วัด
หรือศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานจำพวก 1, 2 ทำเฉพาะ ข้อ 1 บ้านจัดสรร