รับวางแผนภาษี
บริษัทเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการวางแผนภาษี
ของกิจการที่มีความหลากหลาย จะวิเคราะห์รายรับ และ รายจ่ายให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีตรงตามหลักการของบัญชี ได้อย่างตรงจุด เราจะวิเคราะห์ตั้งแต่ ประเภทของกิจการ ว่า เป็นกิจการประเภทใด และ ค่าใช้จ่าย เกี่ยวข้องสัมพัรธ์กันหรือไม่เพื่อไม่ให้เกิด ภาวะ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ตามมาในภายหลัง
ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง
-
1. ภาษี ภ.ง.ด. 1 คือแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 7 วัน หลังจากวันสิ้นเดือนที่จ่ายเงินได้ประเภทที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
-
2. ภาษีภ.ง.ด. 1 ก คือแบบยื่นรายการตามมาตรา 58 ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรภายในเดือน หลังจากสิ้นปีปฏิทินภายในเอนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี แบบยื่นรายการดังกล้าวจะแสดงข้อมูลสรุปทั้งปีเกี่ยวกับเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำรายงานประเภทนี้ รวบรวมได้จากบัญชีเงินได้พนักงานทั้ง 2 ประเภท คือ พนักงานค่าจ้างรายวัน และพนักงานเงินเดือนประจำ ซึ่งได้บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ทั้งปี
3. ภ.พ. 30 หรือ ภ.พ. 31หรือ ภ.พ. 36 คือ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT หรือ ภ.ธ. 40
คือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่ต้องเสียภาษี) ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือ ที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 15 วัน หลังจากวันสิ้นเดือนเป็นประจำทุก ๆ รอบเดือนภาษี โดยไม่คำนึงว่าจะมีรายรับที่ต้องเสียภาษีและภาษีในเดือนนั้นหรือไม่ แบบแสดงรายการดังกล่าวจะแสดงถึงรายได้แต่ละประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มVATและภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดทำรายงานประเภทนี้จะรวบรวมจากรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มVAT ซึ่งจัดทำจากสมุดเงินสดรับ สมุดเงินสดจ่าย และสมุดรายวันขาย หรือสมุดรายวันรายได้ และรวบรวมจากสมุดรายงานประจำเดือนซึ่งแสดงรายรับ ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ยื่นvat ได้ที่นี่
4. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด. 50
คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากร หรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 150 วัน หลังจากสิ้นงวดบัญชีพร้อมกับงบการเงินของบริษัท 1 ฉบับ ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้ว
5. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด. 51
คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตา 67 ทวิ ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนแรกของงวดบัญชี เนื่องจากแบบยื่นรายการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นข้อมูลที่จะใช้ในการกรอก ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงได้มากับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในครึ่งปีแรกแล้วการด้วยสองเพื่อให้ได้จำนวนกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีแบบฟอร์มตามข้อ 1.5 เป็นแบบฟอร์มของทางราชการ ซึ่งจะขอได้จากส่วนราชการตามที่กล่าวข้างต้น
6. งบดุลและงบกำไรขาดทุน
ซึ่งมีรายาการย่อตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) และผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว จะต้องยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ภายใน 120 วัน หลังจากวันสิ้นงวดบัญชี
ดูข้อมูลบัญชีที่เกี่ยวกับภาษี
ข้อเปรียบเทียบรายการในใบกำกับภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ใบกำกับภาษีเต็มรูป
(1) ค่าว่า “ใบกำกับภาษี
(2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขาย
(4) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
(5) เลขที่ เล่มที่ (ถ้ามี) ของใบกำกับภาษี
(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(7) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และ ราคาของสินค้าหรือบริการ
(8) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้แยกออกจากราคาสินค้าหรือบริการให้ ชัดแจ้ง
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
(1) คำว่า “ใบกำกับภาษี” อย่างย่อ
(2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
(3) ชื่อหรือชื่อย่อของผู้ขาย
(4) เลขที่ เล่มที่ (ถ้ามี) ของใบกำกับภาษี
(5) วัน เดือน ปี ที่ออก ใบกำกับภาษี
(6) ชื่อ ชนิด ประเภทปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
(7) ราคาของสินค้าหรือบริการที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีข้อ ความระบุชัดเจนว่าราคาได้รวม ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ใบกำกับภาษีอย่างย่อออกโดยเครื่องฯ
(1) คำว่า “ใบกำกับภาษี อย่างย่อ” หรือค่าว่า “TAX INV (ABB)” หรือ คำว่า “TAX INVOICE (ABB)”
(2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
(3) ชื่อ หรือชื่อย่อ ของผู้ขาย ทั้งนี้ต้องเป็นชื่อย่อมิใช่อักษรย่อ
(4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
(5) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(6) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
(7) ราคาสินค้าหรือค่าบริการ โดยระบุข้อความให้ชัดเจนว่าได้รวมมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(8) เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
วิธีการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบในกรณีต่างๆ
กรณีทั่วไป
1.ต้องมีข้อความในต้นฉบับและสำเนาเหมือนกัน
2.ต้นแบบส่งมอบให้ผู้ซื้อสำเนาเก็บรักษาไว้
3.กรณีขายเป็นเงินเชื่อ ควรแยกใบกำกับภาษีออกจากใบส่งของ และและส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีสำเนาใบส่งของให้ผู้ซื้อ และ เก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เป็นหลักฐานประกันชำระหนี้
กรณีออกเป็นชุด
-ต้องมีข้อความ“ เอกสารออกเป็นชุดในใบกำกับภาษี” ข้อความดังกล่าวจะต้องตีพิมพ์หรือจัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์
-ใบกำกับภาษีที่ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับจะประทับตรายางเขียนด้วยหมึกพิมพ์ดีดหรือวิธีอื่นในลักษณะเดียวกันไม่ได้
กรณีที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง
–ถ้านำใบกํากับภาษีของสำนักงานใหญ่ส่งมอบให้ผู้ซื้อจะต้องมีข้อความ“
สาขาที่ออกใบกำกับคือ…………………………………….
กรณีฝากขายตามสัญญาตั้งตัวแทน
-ตัวการ (ผู้ฝากขาย) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทน (ผู้รับฝาก) เมื่อตัวแทนขายสินค้าให้ผู้ซื้อตัวแทนต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในนามตัวการในการดำเนินการข้างต้นตัวแทนต้องระบุชื่อที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนด้วย
รายงานภาษีขาย
เป็นแบบรายงานที่กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการบันทึก จำนวนภาษีขายของกิจการที่ได้เรียกเก็บหรือจึงเรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี ภาษีขายที่เกิด ขึ้นในเดือนใด ก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น โดยพิจารณาได้จากวันที่ที่ปรากฏในสำเนาใบกำกับภาษีที่ผู้ ประกอบจดทะเบียนออกให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าและจัดทำ บัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี จะปรับปรุงบัญชีดังกล่าวเป็นรายงานภาษีขายได้ โดยเพิ่มช่อง รายการ “ชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” และ “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” ลงในบัญชีนั้นก็ได้ ตาม ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 104)
สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นบุคคลธรรมดาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการ รับชำระราคาเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว หรือให้บริการทั้งกรณีเป็นเงินสดและเงินเชื่อ ก็อาจปรับปรุง บัญชีเงินสดที่ต้องจัดทำอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีเป็นรายงานภาษีขายได้ โดยเพิ่มช่องรายการ “ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” และ “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ในบัญชีเงินสดทางด้านเงินสดรับก็ได้
รายการสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องนำไปลงจำนวนภาษีขายในรายงานภาษีขาย ทำให้ยอดภาษีขายในเดือนที่มีรายการเกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นหรือลดต่ำลง ได้แก่ ภาษีขายอันเนื่องมาจาก
(1) การขายสินค้าหรือการให้บริการในราชอาณาจักร (กรณีการส่งออก ภาษีขาย = 0)
(2) การให้เช่าซื้อ
(3) การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย (ฝากขาย)
(4) การนำสินค้าหรือบริการไปใช้เพื่อการอื่นใดอันมิใช่เพื่อการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) หนี้สูญที่ได้รับกลับคืน
(6) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
(7) มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกกิจการแต่ไม่รวม ถึงสินค้าคงเหลือและทรัพย์สินของผู้ประกอบการซึ่งได้ควบเข้ากันหรือได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน
(8) การรับคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา
(9) การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการซึ่งผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
(10) หนี้สูญ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
รายงานภาษีซื้อ
เป็นแบบรายงานที่กำหนดให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการบันทึก จำนวนภาษีซื้อของกิจการที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บหรือพึงถูกเรียกเก็บใน แต่ละเดือนภาษี ภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใด ก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้นโดยพิจารณาได้จากวันที่ ที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่น ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนใด
แต่มิได้นำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของเดือนนั้น เพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนดให้มีสิทธิ นำไปลงรายงานภาษีซื้อของเดือนหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออก ใบกำกับภาษี (ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ (ฉบับที่ 4) )
รายงานภาษีซื้อเป็นแบบรายงานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำขึ้นมาใหม่และสามารถ ลงรายการภาษีซื้อเฉพาะรายการซื้อที่มีหลักฐานใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้ หรือใบเสร็จ รับเงินอื่นใดตามที่กำหนดโดยกฎหมาย การลงรายการเพิ่มยอดภาษีซื้อ ได้แก่ ภาษีซื้อที่เกิดขึ้น เนื่องจาก
(1) การซื้อหรือการนำเข้าซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบ
(2) การซื้อหรือเช่าซื้อหรือนำเข้าซึ่งทรัพย์สิน
(3) การรับฝากขายสินค้า
(4) การรับบริการหรือการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
(5) การเพิ่มราคาสินค้าหรือค่าบริการ
(6) ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำส่งตามแบบแสดงรายการ เนื่องจากจ่ายค่าบริการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หรือรับ โอนสินค้าหรือบริการที่เคยได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
สำหรับการลงรายการเพื่อลดยอดภาษีซื้อในรายงานภาษีซื้อให้ลดลง ได้แก่ภาษีซื้ออันเนื่องมาจาก
– การส่งคืนสินค้าหรือยกเลิกสัญญาการให้บริการ
– การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการที่ผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
หลักเกณฑ์ในการตรวจภาษี ที่ควรรู้
การตรวจการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ณ สถานประกอบการของผู้เสียภาษีอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง เพื่อตรวจดูว่าข้อมูลที่ผู้เสียภาษีแต่ละรายแสดงมากับสภาพธุรกิจที่เป็นจริงสอดคล้องต้องกัน หรือไม่ โดยแบ่งวิธีการตรวจออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันได้แก่
(1) การตรวจแนะนำ
คือ การส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้คำแนะนำตลอดจนชี้แจง และตอบข้อ
ซักถามต่างๆ ซักถามต่าง ๆ แก่ผู้เสียภาษี ณ สถานประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เสียภาษีมีความรู้ ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการจัดทำรายงานเอกสารหลัก ฐานต่าง ๆ และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกรอก แบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี หรือขอคืนภาษีให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
การตรวจแนะนำจะกระทำในกรณีที่ผู้เสียภาษีเริ่มประกอบการใหม่ หรือกรณีที่ผู้เสียภาษี ร้องขอคำปรึกษาแนะนำเป็นพิเศษ
(2) การตรวจปฏิบัติการ
คือ การตรวจสอบสถานประกอบการของผู้เสียภาษีทุกรายอย่าง เป็นระบบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ระยะเวลาและความถี่ของการตรวจปฏิบัติการสำหรับผู้เสียภาษี แต่ละรายจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างประกอบกันอาทิเช่น ขนาดและประเภทของธุรกิจ แนวโน้มในการหลบหนีและหลีกเลี่ยงภาษีอากร เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจเช็คเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ กับรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการการคำนวณภาษีและการชำระภาษีว่าถูกต้อง ตรงกันและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางธุรกิจหรือไม่ การตรวจปฏิบัติการในลักษณะดังกล่าว มีความจำเป็นเนื่องจากว่าในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้น ไม่ได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีต้องแนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีแต่อย่างใด
ในการตรวจปฏิบัติการเป็นการตรวจเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ดังนั้นถ้าตรวจพบความผิดอัน เป็นความผิดเล็กน้อยที่ผู้เสียภาษีมิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยง เจ้าหน้าที่ก็จะให้คำแนะนำและแนะแนวทาง ปฏิบัติที่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นความผิดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่ผู้เสียภาษีมีเจตนาหลีกเลี่ยง เจ้าหน้าที่ก็ จะทำการประเมินภาษีเพิ่มเติมหรือส่งให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป
นอกจากการตรวจปฏิบัติการในลักษณะข้างต้นแล้วก็จะมีการตรวจปฏิบัติการเฉพาะประเด็น ในแบบแสดงรายการที่ไม่ชัดเจนหรือมีข้อน่าสงสัยด้วย เช่น ในกรณีที่มีการหักภาษีซื้อสูงผิดปกติ หรือ มีการขอปรับปรุงรายการในแบบแสดงรายการที่เคยยื่นมาแล้วในลักษณะที่ผิดสังเกต เป็นต้น การตรวจ ในลักษณะนี้จะจำกัดวงเฉพาะประเด็นที่สงสัยเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องของรายการที่ สงสัยดังกล่าว กรณีที่จะต้องทำการตรวจปฏิบัติการเฉพาะประเด็นนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ จะได้กำหนดไว้
(3) การตรวจสอบทั่วไป
คือเป็นการตรวจสอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรายที่มีข้อมูลหรือหลักฐาน บ่งชี้ว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร การตรวจสอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีนี้โดยทั่วไปจะกระทำควบคู่ ไปกับการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน สำหรับการคัดเลือก รายเพื่อทำการตรวจสอบนี้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่งภายในและแหล่งภายนอก ที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจปฏิบัติการจะเป็นข้อมูลสำคัญยิ่งประการหนึ่ง ในการคัดเลือกรายที่จะทำการตรวจสอบทั่วไป
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม และโทษ
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนอาจต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มและอาจถูกลงโทษด้วย
เช่น การประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน มิได้ยื่นแบบแสดงรายการ หรือนำส่งภาษีภายใน กำหนดเวลา ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด มิได้จัดทำใบกำกับภาษี เป็นต้น การปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติเหล่านี้ หากเป็นเหตุให้มีการเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง หรือ มิได้เสียภาษีไว้เลย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็ต้องรับผิดในจำนวนภาษีที่เสียไว้ไม่ถูกต้องหรือที่มีหน้าที่จะต้องเสีย พร้อมทั้งเสีย “เบี้ยปรับ” และ/หรือ “เงินเพิ่ม” ตามกฎหมาย ซึ่ง “เบี้ยปรับ” มีลักษณะการคิดเป็น เท่าตัว หรือคิดเป็นร้อยละของจำนวนภาษีแล้วแต่กรณี ส่วน “เงินเพิ่ม” มีลักษณะคล้ายดอกเบี้ย (จากการเสียภาษีล่าช้า) และคิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
นอกจากเบี้ยปรับ และหรือเงินเพิ่มดังที่กล่าวมาแล้ว หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียภาษีหรือ บุคคลใด ๆ กระทำความผิดโดยมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษี มูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ก็อาจจะต้องรับโทษทางอาญาอีกด้วย ซึ่งอาจจะต้องมีการ ฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย สำหรับคดีความผิดที่มีโทษสถานเบาต้องระวางโทษปรับเพียงสถานเดียว ได้แก่ กรณีละเลยการยื่นแบบแสดงรายการ การไม่จัดทำรายงานประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และคดีความผิด ที่มีโทษรุนแรง ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 7 ปี ได้แก่ กรณีออกใบกำกับภาษีโดย ไม่มีสิทธิออก การนำใบกำกับภาษีปลอมไปใช้โดยเจตนาทุจริต เป็นต้น
การคืนภาษี
(1) โดยทั่วไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมีสิทธิได้รับคืนภาษี ถ้าภาษีที่เสียไปแล้วในการ ซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ (รวมถึงสินค้าทุนด้วย) มาใช้ในกิจการของตนสูงกว่าภาษีจากการขายสินค้า หรือให้บริการโดยมีสิทธิเลือกขอคืนภาษีเป็นเงินสด พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือน ภาษี (แบบ ภ.พ. 30 เป็นแบบที่มีรายการคำร้องขอคืนภาษีรวมอยู่แล้ว) หรือจะเลือกเป็นเครดิตนำไป หักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องชำระในเดือนถัดไปก็ได้ ในการขอคืนภาษีไม่จำต้องยื่นเอกสารหลักฐาน เพิ่มเติมใด ๆ กรมสรรพากรจะคืนภาษีให้เดือนต่อเดือน หากการพิจารณาคืนภาษีล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามหลักการดังกล่าวกรมสรรพากรถือว่า ผู้เสียภาษีทุกรายกระทำการยื่นชำระภาษีและขอคืนภาษีโดยสุจริต และในขณะเดียวกันกรมสรรพากรก็ มีเครื่องมือหลายประการ ที่จะทำการทดสอบการยื่นรายการเสียภาษีของผู้เสียภาษี รวมตลอดถึงการมี เจ้าหน้าที่ออกเยี่ยมแนะนำผู้เสียภาษีอย่างสม่ำเสมอ
(2) ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออก ไปนอกราชอาณาจักร สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด มาตรา 84/4 และดูประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 90, 91, 152)
สรุป
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกรายการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าในบัญชี และการจัดทำ รายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีเนื้อหาต่อจากบทที่ผ่านมา ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง ความรับผิดในภาษีมูล ค่าเพิ่ม การจัดทำใบกำกับภาษีซึ่งมีความสัมพันธ์กับเรื่องฐานภาษี ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจเพื่อให้ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเรียกเก็บเป็นไปอย่างถูกต้อง และต้องออก ใบกำกับภาษีให้ลูกค้าในทันทีที่ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกให้กับผู้ซื้อสินค้า และ/หรือผู้รับบริการใช้เป็นเอกสารประกอบ การบันทึกรายการภาษีขาย สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ)ที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมู.เพิ่มเรียกเก็บ ตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและมิใช่เป็นรายการภาษีซื้อต้องห้าม นั้นอาจบันทึกในบัญชีพัก บัญชีภาษีซื้อตั้งพัก ก่อนก็ได้เพราะสามารถนำมาหักจากภาษีชายได้ภายใน 6 เดือน นับแต่เดือนที่ได้รับใบกำกับภาษี (ภาษีซื้อ) ทุก สิ้นเดือนภาษี เมื่อทราบจำนวนภาษีขายของเดือนภาษีแล้ว จึงจะคัดเลือกรายการภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่มีอายุ ไม่เกิน 6 เดือนเพื่อนำไปหักกับภาษีชาย พร้อมทั้งโดยบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีบัญชีภาษีซื้อตั้งพักตามจำนวน ภาษีซื้อที่คัดเลือกมาเพื่อนำไปหักจากภาษีขายในเดือนภาษีนั้น โดยบันทึกบัญชีภาษีซื้อ และบันทึกลดยอดคงเหลือ บัญชีภาษีซื้อตั้งพัก พร้อมทั้งบันทึกรายการดังกล่าวใน รายงานภาษีซื้อ ตามใบกำกับภาษีที่คัดเลือกมา ซึ่งจะทำให้ รายการที่ปรากฏใน บัญชีภาษีซื้อ สอดคล้องกับรายการใน รายงานภาษีซื้อ และเพื่อมิให้เกิดการชำระภาษีเกิน เนื่องจากภาษีซื้อของเดือนนี้มีจำนวนมากกว่าภาษีชายและต้องชอนำไปเครดิตหรือหักจากภาษีชายของเดือนถัดไป และในกรณีที่เดือนถัดไปมีภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อที่ขอเครดิตไว้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องขอคืนเป็นเงินสด