work permit non b
work permit non b
ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ โดยผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี
ถ้าหากท่านกำลังมองหาการให้บริการด้านการรับทำวีซ่า (ทำVisa) non b และใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (ทำWork Permit) เราเป็นทีมงานมืออาชีพที่มี ความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ ความชำนาญในด้านการขอวีซ่า (ขอVisa) ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าติดตามครอบครัว (Non-Immigrant Visa “O”/Non-O) วีซ่าแต่งงาน (Non-Immigrant Visa “O”/Non-O ) วีซ่านักศึกษา (Non-Immigrant Visa “ED”/Non-ED ) และวีซ่าทำงาน (Non-Immigrant Visa – “B”/Non-B)
รวมถึงบริการขอใบอนุญาตทำงาน (Work permit) บริการต่อวีซ่า (Visa Extension) และบริการต่อใบอนุญาตทำงาน (Work permit Extension) ด้วยระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน และการดำเนินงานตามกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย พร้อมกับการรักษาความลับของลูกค้า ทำให้เราเป็นที่ยอมรับของลูกค้า ชาวต่างชาติ และบริษัทชั้นนำด้วยดีตลอดมา เรายินดีให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ รับปรึกษา ในการทำวีซ่า (ทำVisa) ในประเทศไทยทุกประเภท และใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (ทำWork Permit) แก่ท่าน
รายละเอียดบริการรับทำวีซ่า (VISA) และรับขอใบอนุญาตทำงาน (WORK PERMIT)
บริการด้าน VISA (ภายในราชอาณาจักรไทย)
บริการขอวีซ่าทำงาน – Non-Immigrant Visa “B” (Non-B)
บริการต่อวีซ่าทำงาน – Non-Immigrant Visa “B” (Non-B)
บริการขอวีซ่าติดตามครอบครัว – Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) Family/Follower
บริการต่อวีซ่าติดตามครอบครัว – Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) Family/Follower
บริการขอวีซ่าแต่งงาน – Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) Thai Spouse
บริการต่อวีซ่าแต่งงาน – Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) Thai Spouse
บริการขอวีซ่ากรณีเป็นครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานการศึกษา – Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) Teacher
บริการต่อวีซ่ากรณีเป็นครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานการศึกษา – Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) Teacher
บริการขอวีซ่านักศึกษา – Non-Immigrant Visa “ED” (Non-ED)
บริการต่อวีซ่านักศึกษา – Non-Immigrant Visa “ED” (Non-ED)
บริการขอวีซ่าบั้นปลาย – Non-Immigrant Visa “OA” Long stay (Non-OA)
บริการต่อวีซ่าบั้นปลาย – Non-Immigrant Visa “OA” Long stay (Non-OA)
บริการดำเนินการทำเรื่องขอเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย (Re-Entry Permit)– Single (ครั้งเดียว ภายใน 1 ปี)
– Multiple (หลายครั้งภายใน 1 ปี)
บริการแจ้งอยู่เกิน 90 วัน – Report 90 days
บริการย้ายตราประทับวีซ่าเข้าหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (Transfer Stamp to new Passport)
บริการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่า (Visa changing)
-เปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่าท่องเที่ยว เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
-เปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่าท่องเที่ยว เป็นวีซ่าทำงาน Non-O
-เปลี่ยนวีซ่าจาก ผ.30 เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
-เปลี่ยนวีซ่าจาก ผ.30 เป็นวีซ่าทำงาน Non-O
-เปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.90 เป็นวีซ่า Non-B
-เปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.90 เป็นวีซ่า Non-O
-เปลี่ยนวีซ่าจาก Transit Visa เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
-เปลี่ยนวีซ่าจาก Transit Visa เป็นวีซ่าทำงาน Non-O
บริการรับขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
- บริการขอใบอนุญาตทำงานที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน (Apply for Work Permit valid not exceed 3 months)
- บริการขอใบอนุญาตทำงานที่มีอายุเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน (Apply for Work Permit valid 3-6 months)
- บริการขอใบอนุญาตที่มีอายุเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกินหนึ่งปี (Apply for Work Permit valid 6-12 months)
- บริการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน (Apply for extension Work Permit)
- บริการขออนุญาตให้เปลี่ยน หรือ เพิ่มลักษณะงาน (Apply for changing job or adding job)
- บริการขออนุญาตให้เปลี่ยน หรือ เพิ่มนายจ้าง (Apply for changing or adding employer)
- บริการขออนุญาตให้เปลี่ยน หรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน (Apply for changing or adding location)
โดยเบื้องต้นจะต้องทราบเกี่ยวกับประเภทของวีซ่าก่อน โดยแบ่งออกเป็น ดังนี้
- วีซ่า Non-B (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับประกอบธุรกิจ และการทำงาน
- วีซ่า Non-O (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการติดตามภรรยาหรือสามีคนไทย (Thai Spouse)
- วีซ่า Non-O (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับกรณีการเข้ามาในฐานะคู่สมรส, บุตร, บิดา หรือมารดาของผู้ได้สิทธิ์การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร, เกษียณอายุใช้ชีวิตบั้นปลาย (กรณีนี้ไม่สามารถทำงานได้)
- วีซ่า Non-IB (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- สมาร์ทวีซ่า (Smart Visa) ใช้สำหรับวีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดมาเพื่อดึงดูดบุคคลากรที่มีทักษะสูง
- วีซ่า Non-ED (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการเข้ามาศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ
ขั้นตอนการขอvisa
ขั้นตอนการขอวีซ่าทำงาน Non-B Visa และการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
ในการยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย ชาวต่างชาติจะต้องขอวีซ่าหรือขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B”/Non-B (วีซ่าทำงาน)ก่อน โดยในการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “B”(วีซ่าทำงาน) นั้นมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1.1 ยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “B” (วีซ่าทำงาน) ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของชาวต่างชาติ
1.2 ยื่นขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B” (วีซ่าทำงาน) ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือ ในกรณีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa), คนเดินผ่านทาง (Transit Visa), ผ.30, ผผ.30 และ ผผ.90 ทั้งนี้ชาวต่างชาติจะต้องยื่นขอเปลี่ยนแปลง การตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B” (วีซ่าทำงาน) ก่อนวีซ่าหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน โดยในกรณีที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ชาวต่างชาติจะไม่สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่า ประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B/Non-B ได้
2.เมื่อได้รับการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B/Non-B (วีซ่าทำงาน) แล้ว (ปกติเจ้าหน้าที่จะให้ระยะเวลาพำนัก อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน) ต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต่อกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงานโดยเจ้าหน้าที่จะให้ใบอนุญาตทำงานเป็นระยะเวลาเท่าใดนั้น เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอ และขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการของสถานที่ทำงานนั้น โดยทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีต่อครั้ง ซึ่งปกติโดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะให้เป็นระยะเวลา 1 ปี
3. เมื่อได้ใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงดำเนินการยื่นขอต่อวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “B”/Non-B (วีซ่าทำงาน) ต่อสำนักงานตรวจคน เข้าเมืองเป็นระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยต้องยื่นก่อนวีซ่า 90 วันหมดอายุ
ทั้งนี้ในกรณีที่ชาวต่างชาติยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย นายจ้างสามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงาน (ขอWork Permit) แทนลูกจ้างก่อนได้ โดยลูกจ้างชาวต่างชาติต้องเข้ามาแสดงตัวและรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ภายใน 30 วัน
หลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตทำงาน (ขอWork Permit) ในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
บริษัทจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทต่อชาวต่างชาติ 1 คน (กรณีคนต่างชาติมี คู่สมรสเป็นคนไทยซึ่งจดทะเบียนสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทุนจดทะเบียนจะลดลงกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ล้านบาท)
ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดสองปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร แล้วแต่กรณีเพื่อแสดงว่าธุรกิจมีความมั่นคงเชื่อถือได้ มีการประกอบการจริง และมีความต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากแนวทางพิจารณาสถานภาพธุรกิจ ว่ามีการประกอบการจริงและมีความต่อเนื่อง ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน อัตราส่วนระหว่างชาวต่างชาติกับพนักงานคนไทย คือ 1 ต่อ 4
คุณสมบัติของคนต่างชาติที่ขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
5.1 ต้องมีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
5.2 ต้องไม่เป็นบุคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะสุดท้าย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการ อันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
5.3 ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนวัน ขอรับใบอนุญาต
เงินเดือนขั้นต่ำของชาวต่างชาติจะขึ้นอยู่กับสัญชาติ โดยมีจำนวนตั้งแต่ 25,000 – 50,000 บาท รายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้
- หลังจากได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และวีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) 1 ปีแล้ว ชาวต่างชาติจะต้องไปรายงานตัวเพื่อแจ้งเกี่ยวกับที่พักอาศัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ทุก ๆ 90 วัน ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้ไปรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไปเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย
- แม้วีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) จะมีอายุ 1 ปี แต่ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกแบบครั้งเดียว (Single-entry) ควรพึงระวัง เพราะวีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) ที่ได้นั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ถือวีซ่าเดินทางออกนอกประเทศไทย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้วีซ่าถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ผู้ถือวีซ่าจะต้องยื่นขอเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้งที่สำนักงานตรวจ คนเข้าเมืองประจำสนามบินหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทย
- หลักเกณฑ์ในการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส) และกรณีติดตามคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร มีดังต่อไปนี้
- หลักเกณฑ์การพิจารณา
- กรณีคนต่างชาติสมรสกับหญิงไทย สามีชาวต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากในธนาคารใน ประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี
- กรณีคนต่างชาตินั้นเป็นบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา คนต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝาก ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี
- กรณีคนต่างชาติเป็นบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส อยู่ในความอุปการะบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์
- มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างชาติกับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
- กรณีเป็นคู่สมรสนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
- ขั้นตอนการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย
- (บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส) และกรณีติดตามคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร
ในการยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) นั้นมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันดังนี้ คือ
1.1 ยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของชาวต่างชาติ
1.2 ยื่นขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในกรณีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa), คนเดินผ่านทาง (Transit Visa), ผ.30, ผผ.30 และ ผผ.90 ทั้งนี้ชาวต่างชาติจะต้องยื่นขอเปลี่ยนแปลง การตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa-“O” (Non-O) ก่อนวีซ่าหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน โดยในกรณีที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ชาวต่างชาติจะไม่สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนแปลง การตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) ได้
- เมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) แล้ว เจ้าหน้าที่จะให้ระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 90 วัน
- เมื่อได้ Non-Immigrant Visa “O” ระยะเวลา 90 วันแล้ว คนต่างชาติจะต้องดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อต่อระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็น 1 ปี โดยทั้งนี้ ต้องยื่นเพื่อขอต่อวีซ่าNon-Immigrant Visa “O” (Non-O) เป็นระยเวลา 1 ปีก่อนวีซ่ารอบแรกที่มีอายุ 90 วันหมดอายุ
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีทำงาน Non B
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
1. แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (หน้าที่มีรูปถ่าย, วีซ่า, ตราเดินทางเข้าครั้งสุดท้าย บัตรขาออก (ตม.6), ตรา RE-Entry Permit, ตราประทับการอนุญาตให้อยู่ต่อครั้งสุดท้าย และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
3. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสานักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)
4. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) รับรองจากสรรพากรของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
5. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน รับรองจาก ประกันสังคม
6. สำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.36) ของปีงบการเงินล่าสุด 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน รับรองเอกสาร จาก สรรพากร ก่อน
7. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้ สมัคร
8. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอานาจลงนาม )
9. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุก แผ่น)
10. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียน รับรองไม่เกิน 6 เดือน
11. สําเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
12. สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด พร้อมแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50)และใบเสร็จรับเงิน และสำเนา สบช.3 (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
13. สําเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) รับรองเอกสารจากสรรพากร ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จ รับเงิน (กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง และคนต่างด้าวห้ามมีรายชื่อใน ภ.ง.ด.1 ก่อนมีใบอนุญาตท่างาน)
14. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. ก่าหนด (แบบ สตม.2)
15. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกแผ่น) – ภายนอก ให้ปรากฏรูปถ่ายสภาพตัวอาคาร, เลขที่ตั้ง และป้ายชื่อสถานประกอบการ – ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานคนไทยและคนต่างด้าวขณะปฏิบัติงานอยู่
16. ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
สรุป
- ทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอ และบุตร/ภรรยา/สามีผู้มีสัญชาติไทย ต้องไปแสดงตัวด้วยตนเองเพื่อให้ปากคำ
- ในกรณีที่เป็นการติดตามคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวผู้มาปฏิบัติงานในราชอาณาจักรต้องได้ Non-Immigrant Visa “O” เป็นระยะเวลา 1 ปีเรียบร้อยแล้ว
- หลักเกณฑ์ในการขอวีซ่าเกษียณอายุ Non-Immigrant Visa “O” (Non-OA) และ (Non-OX) มีดังต่อไปนี้
- คนต่างชาติที่ต้องการขอวีซ่าต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- มีวีซ่าเกษียณอายุ Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) อายุ 90 วัน และพำนักอาศัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นระยะเวลา 60 วัน
- ในกรณี Non-OA คนต่างชาติจะต้องมีเงินรายได้/เงินเกษียณอายุ เดือนละ 65,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน หรือเงินฝาก-เงินบำนาญ รวมกันปีละ 800,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ในกรณี Non-OX คนต่างชาติจะต้องมีเงินรายได้/เงินเกษียณอายุเดือนละ 100,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน หรือเงินฝาก-เงินบำนาญ รวมกันปีละ 3,000,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนโดยทั้งนี้ต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการมีเงินได้จากธนาคารในประเทศไทย เช่น สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร หรือสมุดบัญชีเงินฝาก
- คนต่างชาติต้องมีการประกันสุขภาพ
- คนต่างชาติที่ได้วีซ่าเกษียณอายุ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทุกประเภทในประเทศไทย
- การยื่นต่อวีซ่า สามารถยื่นล่วงหน้าก่อนวีซ่าหมดอายุได้อย่างน้อย 21 วัน
- หลังจากได้รับวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O) 1 ปีแล้ว ชาวต่างชาติจะต้องไปรายงานตัวเพื่อแจ้งเกี่ยวกับที่พักอาศัยที่สำนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ทุก ๆ 90 วัน ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาใน ราชอาณาจักรแล้ว ให้ไปรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย