รับทำบัญชี

รับทำบัญชี
รับจ้างทำบัญชีรายเดือน ประเภทบัญชีที่จัดทำรายเดือน ทำบัญชีหลากหลายธุรกิจ รายการเกี่ยวกับบัญชี การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ความหมายของระบบบัญชี ส่วนประกอบของบัญชีที่ดี

รับจ้างทำบัญขีรายเดือน

บริษัทเราเป็นผู้มีประสบการณ์ในการรับวางระบบบัญชี รับทำบัญชีทั่วประเทศและต่างประเทศเราเป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี แต่เราคือมิติใหม่ของสำนักงานขั้นสุดที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องธุรกิจของท่านบริการงานบัญชีและภาษีที่ท่านจะได้รับ

-ให้คำแนะนำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีและการจัดเก็บเอกสารขั้นพื้นฐานในการบันทึกบัญชี

-วิเคราะห์รายการเอกสารเพื่อประกอบการบันทึกบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย การปรับปรุงบัญชี และรายงานทางบัญชีต่างๆ ครบถ้วนตามกฎหมายบัญชีและกรมสรรพากรกำหนด

-บันทึกรายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ด้วยระบบโปรแกรมบัญชีที่ได้มาตรฐานของกรมสรรพากร

อ่านเพิ่ม

ประเภทบัญชีที่จัดทำรายเดือน

ประเภทรายการที่จัดทำบัญชีรายเดือน

  • -จัดทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินให้กับบริษัท

  • จัดทำบัญชีหัก ณ ที่จ่ายและยื่นภาษีเงินได้พนักงานหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)

  • จัดทำบัญชีหัก ณ ที่จ่าย และยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.3)

  • จัดทำบัญชีหัก ณ ที่จ่ายและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.53)

  • -จัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม – VAT (ภพ.30)

  • จัดทำบัญชีVAT รายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายประจำเดือน

ประเภทรายการที่จัดทำบัญชีรายปี

-จัดทำบัญชีกลางปีและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี (ภงด.51) และภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภงด.50)

-จัดทำบัญชีปลายปีและยื่นแบบนำส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ (สบช.3)

-จัดทำบัญชีเงินเดือนและยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายพนักงานประจำปี (ภงด.1ก)

บริการงานประกันสังคมที่ท่านจะได้รับ

-จัดทำและยื่นแบบการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน

-แจ้งพนักงานเข้า หรือลาออก

บัญชี

รับจ้างทำบัญชีหลายธุรกิจ

  • One Stop Services : มาที่เดียวจบทุกเรื่องบัญชีและภาษี
  • คุ้มเกินราคา : ทำบัญชีราคาถูก พร้อมปรึกษาธุรกิจที่เสมือนเป็นหุ้นส่วนที่จะคอยสนับสนุนธุรกิจท่านตลอดไป ประสบการณ์สูง : ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี เคลียร์ได้ทุกประเด็น
  • ตรงเวลา : ด้วยคุณภาพและมาตรฐานเหมือนกันไม่ว่าท่านจะเป็นกิจการขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็ตาม
  • มั่นใจได้ 100% : ผลงานดูแลลูกค้ากว่า 200 บริษัท ชัดเจนทุกคำพูด เราเป็นบริษัทชั้นนำด้านรับทำบัญชี ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรมากมาย ในหลากหลายธุรกิจ ทั้งองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลาง (SMEs) และใหญ่ เช่น
อ่านเพิ่ม
  •  ธุรกิจออนไลน์ Facebook, Instagram,
  • ธุรกิจการผลิต
  •  ธุรกิจซื้อมาขายไป
  •  ธุรกิจให้บริการ
  • ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  •  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  •  ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเมนท์ โรงแรม
  •  ธุรกิจให้บริการด้าน ซอฟแวร์
  •  ธุรกิจนำเข้าส่งออก
  •  ธุรกิจขนส่ง
  •  ธุรกิจร้านทอง
  •  ธุรกิจคลินิกทัตกรรม
  •  ธุรกิจคลินิกศัลยกรรม
  • ธุรกิจการฝากขายในห้างสรรพาสินค้า
  • รับทำบัญชี ธุรกิจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  •  ธุรกิจค้าของเก่า / โรงรับจำนำ
  •  ธุรกิจเกม ตู้เกมหยอดเหรียญ
  •  ธุรกิจความปลอดภัย
  •  ธุรกิจสถาบันการเงิน ผลิตภัณฑ์การเงิน การแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ สกุลเงินดิจิทัล
  •  นำเข้าส่งออกสินค้าลิขสิทธิ์
  •  ธุรกิจอาหารเสริม / ยา / เครื่องสำอาง / เครื่องมือแพทย์ / วัตถุอันตราย
  •  สถานพยาบาล (คลินิก)
  •  ร้านอาหาร / ผับ / บาร์ / อาบอบนวด

ดู VDO เพิ่มเติม

click

บริการจัดทำบัญชีรายเดือนทางเราจะดำเนินการจัดทำบัญชีเพื่อนำไปสู่การยื่นภาษีในรายการดังต่อไปนี้

  • เกี่ยวกับการบัญชี

    1. บัญชีเงินเดือน

    • ภ.ง.ด. 1 คือแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 7 วัน หลังจากวันสิ้นเดือนที่จ่ายเงินได้ประเภทที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • 2. บัญชีสรุปเงินเดือนประจำปี

    • ภ.ง.ด. 1 ก คือแบบยื่นรายการตามมาตรา 58 ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรภายในเดือน หลังจากสิ้นปีปฏิทินภายในเอนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี แบบยื่นรายการดังกล้าวจะแสดงข้อมูลสรุปทั้งปีเกี่ยวกับเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
      ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำรายงานประเภทนี้ รวบรวมได้จากบัญชีเงินได้พนักงานทั้ง 2 ประเภท คือ พนักงานค่าจ้างรายวัน และพนักงานเงินเดือนประจำ ซึ่งได้บันทึกรายการเกี่ยวกับเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ทั้งปี
  • 3. บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

    • ภ.พ. 30 หรือ ภ.พ. 31 คือ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.ธ. 40 คือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ที่ต้องเสียภาษี) ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือ ที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 15 วัน หลังจากวันสิ้นเดือนเป็นประจำทุก ๆ รอบเดือนภาษี
    • โดยไม่คำนึงว่าจะมีรายรับที่ต้องเสียภาษีและภาษีในเดือนนั้นหรือไม่ แบบแสดงรายการดังกล่าวจะแสดงถึงรายได้แต่ละประเภทที่ต้องเสียภาษีและภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
      ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดทำรายงานประเภทนี้จะรวบรวมจากรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ซึ่งจัดทำจากสมุดเงินสดรับ สมุดเงินสดจ่าย และสมุดรายวันขาย หรือสมุดรายวันรายได้ และรวบรวมจากสมุดรายงานประจำเดือนซึ่งแสดงรายรับ ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใครต้องจดและใครไม่ต้องจด

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ  ซึ่งอาจหมายถึงผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา  คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆก็ตามดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า1,800,000 บาท ต่อปีขึ้นไป

(2) เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายบางกรณีมีความประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปีหรือขายสินค้าทางการเกษตร  ขายหนังสือพิมพ์นิตยสาร  ตำราเรียน  เป็นต้น

(3) เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ

2 ผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(มาตรา 85/3)

(1) เป็นผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี

(2) เป็นผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

(3) เป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

(4) ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

(5) เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการตาม

ใน(5)ประสงค์จะยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวก็ทำได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดี(ฉบับที่ 43) ดังนี้

5.1 ต้องประกอบกิจการมีกำหนดเวลาเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี 

5.2 ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรหมายถึงผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย 

5.3 คู่สัญญาฝ่ายต้องเป็นนิติบุคคลไทยองค์การของรัฐบาลสหกรณ์และองค์การอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคลและสัญญาต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร

5.4 ต้องยื่นจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี

 5.5 การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ยื่นณที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ 

5.6 ให้ถือว่าวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นวันที่เริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

 5.7 ให้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวด้วย 

Accounting

4. บัญชีกลางปี

ภ.ง.ด. 50 คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากร หรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 150 วัน หลังจากสิ้นงวดบัญชีพร้อมกับงบการเงินของบริษัท 1 ฉบับ ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้ว

5. บัญชีปลายปี

ภ.ง.ด. 51 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตา 67 ทวิ ซึ่งจะต้องยื่นต่อกรมสรรพากรหรือที่ว่าการเขตท้องที่ภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันครบ 6 เดือนแรกของงวดบัญชี เนื่องจากแบบยื่นรายการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นข้อมูลที่จะใช้ในการกรอก ภ.ง.ด. 51จึงได้มากับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในครึ่งปีแรกแล้วการด้วยสองเพื่อให้ได้จำนวนกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีแบบฟอร์มเป็นแบบฟอร์มของทางราชการ ซึ่งจะขอได้จากส่วนราชการตามที่กล่าวข้างต้น

6. บัญชีประจำปี

งบดุลและงบกำไรขาดทุน ซึ่งมีรายาการย่อตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) และผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว จะต้องยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ภายใน 120 วัน หลังจากวันสิ้นงวดบัญชี
แบบฟอร์มหรือรายงานตามข้อ 1 – 6 เป็นแบบยื่นรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้สำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามธุรกิจบางแห่ง อาจจำเป็นต้องใช้แบบฟอร์มอื่น ๆ อีก เช่น ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้บุคคลภายนอกทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อาจต้องใช้แบบ ภ.ง.ด. 3 หรือ ภ.ง.ด. 53 หรือ 54 เป็นต้น นักบัญชีจะต้องศึกษาประมวลรัษฎากรอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

 

แบบภาษีมูลค่าเพิ่มมีอะไรบ้าง

สรุปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังต่อไปนี้ คือ

สรุปแบบพิมพ์ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

(ภ.พ.01] แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการใช้ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานปร กอบ การตั้งอยู่ ถ้าผู้ประกอบการมีสถานประกอบ การหลายแห่ง ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากร พื้นที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลา

(ภ.พ.01.1] แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชั่วคราว ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้ บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวใช้ยื่นขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว

ภ.พ.02) แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่มรวมกัน ผู้ประกอบการใช้ยื่นต่อ อธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอยื่นแบบแสดงรายการ การค้ารวมกัน

ภ.พ.09] แบบแจ้งการเปลี่ยนทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้ยื่นแจ้ง ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ภายในกำหนดเวลา

(ภ.พ.20] ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรม สรรพากรออกให้สำหรับผู้ประกอบการที่ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคํานวณจากภาษี ขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี

(ภ.พ.30] แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้ยื่นแสดงรายการ และชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจาก ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี โดยยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถาน ประกอบการตั้งอยู่

ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนมี สถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่น และชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้เว้นแต่ผู้ประกอบการฯ มีความ ฯ ประสงค์จะยื่นแบบฯ และชำระภาษีรวม กันก็ทำได้โดยต้องขออนุมัติต่อกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.02 ก่อน

(ภ.พ.36] แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้นำเข้าบริการ ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ ที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ใช้ยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขา รายในกำหนดเวลา

คลิก

 

คลิก

ลงทะเบียนรับโปรแกรมฟรี

คลิก

 

ความหมายของระบบบัญชี คือ

 ระบบบัญชี คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินอันประกอบด้วยแบบฟอร์ม หรือเอกสารต่าง ๆ บันทึกทางการบัญชี รายงาน ตลอดจนวิธีการและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ การดำเนินงาน และการเงินของกิจการแห่งใดแห่งหนึ่งให้แก่ฝ่ายจัดการ เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถปฏิบัติ หน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ลุล่วงไปด้วยดี และเพื่อเสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กิจการนั้น เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ และส่วนราชการ เป็นต้น

ความสำคัญของระบบบัญชี

นอกจากจะใช้ข้อมูลทางการบัญชีเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาที่ผ่านมาแล้ว ธุรกิจ จำเป็นต้องมีระบบบัญชีที่ดี เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในด้านการควบคุมการดำเนินงานให้เป็น ไปตามวัตถุประสงค์อีกด้วย ในกิจการเล็ก ๆ ที่การดำเนินงานขึ้นอยู่กับเจ้าของเพียงคนเดียวหรือสองคนนั้น ความสำคัญของระบบบัญชีอาจจะเห็นได้ไม่ชัดนัก ทั้งนี้เพราะเจ้าของกิจการสามารถควบคุมดูแลการดำเนิน งานด้วยตนเองได้ทั่วถึง แต่ในกิจการขนาดใหญ่ที่แบ่งงานออกเป็นหลายส่วน และมีพนักงานเป็นจำนวนมาก เจ้าของหรือผู้บริหารงานไม่สามารถควบคุมดูแลได้ทั่วถึง จำเป็นต้องมีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการบริหาร งานและขยายขอบเขตการควบคุมออกไปให้หัวหน้าของส่วนงานต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบ

ในกิจการขนาดใหญ่ นี้ระบบบัญชีมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งที่จัดหาข้อมูลต่าง ๆ ให้ฝ่ายจัดการแล้ว ข้อมูลที่ ได้จากระบบบัญชีนั้นอาจจะเป็นข้อมูลอันแสดงถึงผลของการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งฝ่ายจัดการ จะได้นำไปใช้ในการประเมินผลของการตัดสินใจในการบริหารงานของตนว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิพเพียงใด และยังอาจใช้เป็นหลักในการวางแผนงานในอนาคตอีกด้วย นอกจากนั้นข้อมูลทางการบัญชียังอาจใช้เป็น เครื่องมือที่สำคัญของฝ่ายจัดการในการควบคุมการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะข้อมูลที่ได้จากระบบ บัญชีนั้นจะช่วยให้เห็นว่าส่วนงานต่าง ๆ ดำเนินงานเป็นไปตามแผนการที่วางไว้หรือไม่

ดังนั้นการวางระบบ บัญชีจึงต้องพิจารณาให้มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้องเชื่อถือได้ และ ประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากรายงานที่เสนอฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้นแล้ว รายงานที่เสนอต่อส่วนราชการก็เป็น สิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะธุรกิจจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดแห่งกฎหมายทั้งในแง่ภาษีอากรและเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง

ความสำคัญของระบบบัญชีอีกประการหนึ่งนอกจากที่กล่าวมาแล้ว คือ อาจจะใช้เป็นเครื่องมือใน การป้องกันและรักษาทรัพย์สินของกิจการไม่ให้สูญหายหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่สมควรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กล่าวมานี้ ระบบบัญชีที่วางไว้จึงต้องเป็นระบบที่มีการควบคุมภายในที่ดี

 

สรุป ลักษณะและส่วนประกอบของระบบบัญชีที่ดี

มีดังต่อไปนี้

ลักษณะที่สำคัญและส่วนประกอบของระบบบัญชี

ระบบบัญชีคือ ระบบการจัดทำแบบฟอร์ม การบันทึกรายการ และทำรายงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ แก่ฝ่ายจัดการตามที่ต้องการ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ฝ่ายจัดการต้องการนั้นมีหลายประเภทตามตัวอย่างต่อไปนี้

1 1. ผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี และข้อมูลเปรียบ เทียบ เช่น ผลการดำเนินงานของเดือนมกราคมปีนี้กับปีก่อน

2. ยอดสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้เป็นเจ้าของในวันใดวันหนึ่ง

3. รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลาหนึ่งและสินทรัพย์หนี้สินประเภท ๆ ณ วันใดวันหนึ่ง ต่าง

4. ข้อความต่าง ๆ ที่ต้องเสนอต่อทางราชการ เช่น ยอดภาษีเงินได้บริษัท ภาษีการค้า ภาษีเงินได้  หัก ณ ที่จ่ายของพนักงานที่จะต้องนำส่งและรายการที่จำเป็นอื่น ๆ

นอกจากการจัดเสนอข้อมูลให้แก่ฝ่ายจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วทันกาลแล้ว ระบบบัญชีที่ดี จำเป็นต้องมีวิธีการในการป้องกันรักษาทรัพย์สินของกิจการจากการทุจริตผิดพลาดทั้งปวง โดยนำหลักการ ควบคุมภายใน (Internal Control) และวิธีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน (Internal Check) เข้ามาใช้ในระบบ บัญชีนั้นด้วย 

เนื่องจากลักษณะของกิจการที่แตกต่างกัน วัตถุประสงค์ของการวางระบบบัญชีก็จำเป็นต้องแต่ ต่างกันออกไปด้วย ตัวอย่างเช่น ในกิจการประเภทอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าจำหน่ายเอง การวางระบบบัญชี จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้าต่าง ๆ ในกิจการธนาคารข้อมูลที่จำเป็น ต้องได้จากระบบบัญชีนั้นก็คือยอดเงินฝากประเภทต่าง ๆ เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เป็นต้น 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *