บทความ
กรมการกงศุล
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 และ ประกาศกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง ฉบับประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554
1.เอกสารหลักฐานประกอบคำร้องขอกรณีพระภิกษุสามเณร ตามระเบียบฯ ข้อ 30 เอกสารประกอบการยื่นคำร้องของพระภิกษุและสามเณรมีดังนี้
1.1 ใบสุทธิพระภิกษุสามเณร
1.2 สําเนาทะเบียนบ้าน/วัด
1.3 สำเนาใบตราตั้ง กรณีประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง 1.4 เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคมกำหนดวิธีปฏิบัติในการไป ต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. 2537 โดยทั่วไปสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะมีหนังสือน่าแจ้งกระทรวงฯ เพื่อขอให้พิจารณาออกหนังสือเดินทางเล่มทั่วไปหรือเล่มราชการให้กับพระภิกษุ/สามเณร โดยจะแนบมติ ศรภ. ที่อนุมัติให้ เดินทางมาประกอบการพิจารณา
2. การรับเล่มหนังสือเดินทาง
2.1 เงื่อนไขในการรับเล่มหนังสือเดินทางแบบปกติ
1) หากยื่นคำร้องที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานฯ ศรีนครินทร์ สำนักงานฯ สายใต้ใหม่ – ตลิ่งชัน สำนักงานฯ มีนบุรี และสำนักงานฯ ปทุมวัน ผู้ร้องสามารถ (1) รับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการ(ไม่นับวันที่ยื่นคำร้อง) (2) รับทางไปรษณีย์ (EMS)
2)ในกรณีไม่สามารถมารับเล่มด้วยตนเองสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนโดยลงลายมือชื่อมอบอำนาจในใบรับ พร้อมเอกสารที่ระบุไว้ในใบรับเล่มมาแสดง
3) กรณียื่นค่าร้องที่สำนักงานฯ MRTคลองเตย ล งานฯ ธัญบุรี สำนักงานฯ บางใหญ่ จะได้รับหนังสือเดินทาง ทางไปรษณีย์ (EMS) เท่านั้น 4) กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานฯ ในต่างจังหวัดจะได้รับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ (EMS) เท่านั้น
2.2 เงื่อนไขหนังสือเดินทางเล่มด่วนได้รับเล่มในวันทำการเดียวกัน
1) ยื่นคำร้องและชำระเงินเสร็จสิ้นภายใน 11.30 น. 2) ขอรับเล่มได้เฉพาะที่ฝ่ายจ่ายเล่ม กรมการกงสุล ตั้งแต่เวลา 14.30 – 16.30 น. 3) สำนักงานที่ให้บริการ : กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานฯ ศรีนครินทร์ สำนักงานฯ ปิ่นเกล้า สำนักงานฯ มีนบุรี สำนักงานฯ MRTคลองเตย และสำนักงานฯ ต่างจังหวัด 18แห่ง
กรมการจัดหางาน
การรับคำขออนุญาตทำงาน
คนต่างด้าวตามมาตรา ๕๙ หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT VISA) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน (TOURISTTRANSIO /หรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
รายการเอกสารหลักฐานประกอบของคนต่างด้าว
1. แบบคำขออนุญาตทำงานและต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา ๕๙ (แบบ บต.๒๕)
2. หนังสือเดินทาง หรือเอกสารหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และใบสำคัญถิ่นที่อยู่
3. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้เน นกและอยู่ในราชอาณาจักร (VISA)
4. สำเนาหลักฐานการศึกษา หรือหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานจาก นายจ้างเดิม หรือแบบหนังสือรับรองวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
5. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือหนังสือรับรองให้ประกอบวิชาชีพ ในกรณี เป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับอนุญาตหรือการรับรอง
6. หนังสือรับรองการจ้าง (แบบ บต.๔๖)
7. ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าคนต่างด้าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฏกระทรวง กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. ๒๕๖๓ (อายุใบรับรองแพทย์ตามที่แพทย์ระบุ หรือตามที่แพทยสภาประกาศกำหนด) ดังนี้
(7.1) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟันเพื่อนไม่สมประกอบ
(7.2) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตามกฎหมายว่าด้วย คนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เว้นแต่พ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตทำงาน
(7.3) ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรค ดังต่อไปนี้ โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะ ปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคระยะติดต่อ โรคเท้าข้างในระยะปรากฎอาการอันเป็น ที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษ โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ ๓
(8) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ขนาด 3 X 2 นิ้ว
กรมพัฒนาธุรกิจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้การจดทะเบียนดังต่อไปนี้ต้องดำเนินการขอ จดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากยื่นขอจดทะเบียนล่วงเลยเวลาที่กำหนดแล้ว การยื่นจดทะเบียน นั้นอาจไม่มีผลตามกฎหมายและนายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนให้ รวมทั้งในบางกรณีเป็นความผิดทางอาญาด้วย
2.1 การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่วันประชุมตั้ง บริษัท ถ้าไม่ได้จดทะเบียนตามที่กำหนดถือว่าบริษัทเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น ต้องไปเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ ขั้นตอนการออกหนังสือนัดและจัดประชุมจัดตั้งบริษัท
2.2 การตั้งกรรมการใหม่ให้จดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง
2.3 มติพิเศษให้เพิ่มทุน ลดทุน หรือควบบริษัทต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ได้ลงมติ
2.4 บริษัทที่ได้ควบเข้ากันต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่ภายใน 14 วัน นับแต่ วันที่ควบเข้ากัน
ส่ 2.5 การเลิกห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เล็ก 2.6 การเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีใหม่ต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยน 2.7 กรณีมีมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหรือมีคำบังคับของศาลให้อำนาจผู้ชำระบัญชีทำการ แยกกันได้ ต้องจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ลงมติหรือออกคำบังคับ
2.8 ผู้ชำระบัญชีต้องทำรายงานการชำระบัญชียื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัททุกๆ ระยะ 3 เดือนจนกว่าจะชำระบัญชีเสร็จ
2.9 เมื่อชำระบัญชีเสร็จต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน และมอบสมุด บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวกับการชำระบัญชีให้นายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเสร็จ การชำระบัญชี
2.10 บริษัทจำกัดต้องจัดส่งสำเนางบดุลต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบดุลนั้น ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 1
2.11 บริษัทจำกัดต้องส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในวันประชุมผู้ถือหุ้น สามัญต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้นสามัญเสร็จสิ้น
กรมสรรพากร
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.1 ผู้ประกอบการ 1.2 ผู้นำเข้า และ 1.3 ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
1.1 ผู้ประกอบการ องค์ประกอบของผู้ประกอบการมีดังนี้ คือ (1) เป็นบุคคลธรรมดา คณะ บุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล และ (2) ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ และ (3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร (ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่)
องค์ประกอบที่ 1. เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล
“บุคคลธรรมดา” หมายความรวมถึง กองมรดก (มาตรา 77/1 (2) “คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หรือ มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล และให้หมายความรวมถึงหน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคล ธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล (มาตรา 77/1 (3)
“นิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 39) องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล (มาตรา 77/1 (4) )
ข้อสังเกต
- บุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ถ้าขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ นอกจากอยู่ในข่ายบังคับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วก็อยู่ในข่ายบังคับของภาษีมูลค่า เพิ่มด้วย เช่น บุคคลธรรมดาเปิดร้านขายสินค้าหรือบริการ โดยทั่วไปแล้วย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คำว่านิติบุคคลในภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหมายกว้างกว่าคำว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยรวมถึงสหกรณ์ หรือรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นถ้านิติบุคคลดังกล่าวมีการขายสินค้า หรือบริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ แม้ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ก็อาจอยู่ในข่ายต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกรณีการไฟฟ้าฯ หรือองค์การโทรศัพท์ขายกระแสไฟฟ้าหรือให้บริการโทรศัพท์ ย่อมอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะไม่อยู่ในความหมาย ของคำว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม
องค์ประกอบที่ 2. ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ
“สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่า จะมีไว้เพื่อขาย หรือเพื่อการใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า (มาตรา 77/1 (9))
สินค้าตามความหมายของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่เป็นแต่เพียงสินค้าที่ผู้ประกอบการ มีไว้เพื่อขาย หรือผลิตขึ้นไว้เพื่อขายเท่านั้น แต่มีความหมายที่กว้างซึ่งจะรวมทั้งทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ใน กิจการ เช่น รถยนต์ที่ใช้ในกิจการ เครื่องคอมพิวเตอร์ โต๊ะเก้าอี้ที่พนักงานใช้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็ เป็นสินค้าตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้ามีการขายย่อมอยู่ในบังคับกฎหมายภาษีมูล ค่าเพิ่มด้วย
“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้าไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือ ไม่ เช่น การซื้อขายสินค้าทั่ว ๆ ไป การแจกสินค้า การแถมสินค้า ฯลฯ นอกจากนั้นยังหมายความ รวมถึง (มาตรา 77/1 (8))
(ก) สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า
(ข) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย
(ค) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
(ง) นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใด ๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของ ตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ซึ่งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 1) กำหนดว่าได้แก่กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การ บริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม อนึ่ง สินค้าดังกล่าวต้องมิใช่ รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แต่ไม่รวมถึงการนำรถยนต์นั่งและรถยนต์โดย 10 คน ไปใช้ในสถานแสดงรถยนต์เพื่อขาย
(จ) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
(ฉ) มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วัน เลิกประกอบกิจการ
(ซ) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 188 (พ.ศ. 2534) คือ “ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก ฐานภาษีไม่ถึงเกณฑ์ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนกระทำผิดบทบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม
“บริการ” หมายความว่ากระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขาย สินค้าและให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเอง ไม่ว่าประการใด ๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง
(ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรงตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2) กำหนดว่า ผู้ประกอบ การจดทะเบียนนำบริการหรือนำสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้บริการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ ในกิจกา ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องมิใช่เพื่อการรับรอง หรือบริการที่นำไปใช้กับ รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 87) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2542)
(ข) การนำเงินไปหาประโยชน์ในการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร หรือหลักทรัพย์
(ค) การกระทำตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี (มาตรา 77/1(10) )
ข้อสังเกต
- ในกรณีที่มีปัญหาว่ากิจการใดเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด (มาตรา 77/5)
- โดยทั่วไปการขายสินค้ามีความรับผิดทางภาษีเกิดในเวลาที่ต่างจากการให้บริการ นอกจากนั้นกิจการขายสินค้าต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิม ในขณะที่กิจการให้บริการไม่ต้องจัดทำ
- การขายสินค้าหรือการให้บริการบางประเภทที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภาคที่ 5) จะไม่อยู่ในข่ายเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก เช่น กรณีขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
- ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีการกระทำอันถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) หรือการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น ในบางกรณีแม้ว่าจะมีหน้าที่เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น แต่มีแนวทางปฏิบัติกำหนดให้ไม่จำต้อง จัดทำใบกำกับภาษี (เช่นกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ กรณีให้บริการโดยไม่มีค่า ตอบแทน ฯลฯ ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ข้อ 2)
องค์ประกอบที่ 3. ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
กรณีเป็นการขายสินค้า จะต้องเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรเท่านั้น จึงจะอยู่ ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับการให้บริการในราชอาณาจักรนั้น นอกจากหมายถึงการให้บริการและมีการ ใช้บริการในราชอาณาจักรแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้หมายความรวมถึง (1) บริการที่ทำในราช อาณาจักรโดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศหรือในราชอาณาจักร และ (2) การให้ บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรด้วย (มาตรา 77/2) เช่น การ ส่งเงินค่าลิขสิทธิ์ หรือค่าเช่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปต่างประเทศกฎหมายก็ถือว่าเป็นการให้บริการ ในราชอาณาจักรเช่นกัน จึงต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
1.2 ผู้นำเข้า หมายถึง ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าเพื่อ การใด ๆ และให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม | ๆ กฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย
เขตปลอดอากร หมายความว่าเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เขตอุตสาหกรรม ส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเขตที่มีกฎหมายกำหนดให้ ยกเว้นอากรขาเข้า