สอบบัญชีรับอนุญาต

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
บริการของผู้สอบบัญชี การสอบทานบัญชี ราคาค่าสอบบัญชี ประเภทของการสอบบัญชี ขอบเขตการสอบบัญชี สรุปงานสอบบัญชีปฏิบัติการ

รับตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต CPA

บริการของผู้สอบบัญชี

ผู้สอบบัญชีอาจให้บริการอื่นนอกเหนือไปจากบริการสอบบัญชี ซึ่งเรียกว่าเป็นบริการ ที่เกี่ยวเนื่องกัน (Related Services) บริการเหล่านี้ ได้แก่ การสอบทาน (Reviews) วิธีการ ปฏิบัติงานตามแต่จะได้ตกลงกัน (Agreed-upon Procedures) และการประกอบและจัดเสนอ ข้อมูล (Compilations) และบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) เป็นต้น ความรับ ผิดชอบของผู้สอบบัญชีย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริการที่ให้

 บริการสอบบัญชี (Audit Service) เป็นบริการที่เป็นวัตถุประสงค์หลักของผู้สอบ บัญชี การสอบบัญชีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นในลักษณะที่ให้ ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า ข้อมูลทางการเงินดังที่ปรากฏในงบการเงินแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และกระแสเงินสดของกิจการโดย ถูกต้องตามที่ควร (true and fair view หรือ present fairly) ในสาระสำคัญ และเป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ เพื่อที่จะแสดงความเห็นดังกล่าวนี้ ผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธี การตรวจสอบที่ได้วางไว้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะให้ได้หลักฐานเพียงพอที่จะทำให้ผู้สอบบัญชี สามารถแสดงความเห็นต่อข้อมูลทางการเงินหรืองบการเงินที่ตรวจสอบนั้น ทั้งนี้ถือ ผู้สอบ บัญชีได้ให้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับความเชื่อถือได้แก่ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงินหรือ งบการเงินที่ได้แสดงความเห็นไว้นั้น

บริการด้านอื่นที่เกี่ยวเนื่องกัน (Other Related Services) บริการเหล่านี้เป็นบริการ ที่ไม่ใช่การตรวจสอบเพื่อแสดงความเห็นดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นบริการที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง กับบริการสอบบัญชี ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของบริการที่ให้ การสอบทาน (Reviews) ในการสอบทานข้อมูลทางการเงินหรืองบการเงิน เช่น การสอบทานงบการเงินระหว่างกาล ผู้สอบบัญชีจะใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากการสอบ

การสอบทานบัญชี (Reviews)

การสอบทานบัญชีโดยผู้สอบบัญชี CPA

การสอบทาน (Reviews) ในการสอบทานข้อมูลทางการเงินหรืองบการเงิน เช่น การสอบทานงบการเงินระหว่างกาล ผู้สอบบัญชีจะใช้วิธีการที่แตกต่างไปจากการสอบบัญชี ซึ่งวิธีการนี้ไม่อาจได้รับหลักฐานครบถ้วนดังที่ได้รับจากสอบบัญชี เป็นต้นว่า อาร มิได้สังเกตการตรวจนับสินค้าคงเหลือ มิได้ขอคำรับรองยืนยันจากลูกหนี้ ดังนั้น จึงไม่อาจ ให้ความเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูลทางการเงินหรืองบการเงินในระดับเดียวกับการสอบ บัญชี ในกรณีนี้ ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเชื่อมั่นในเชิงปฏิเสธ (Negative Assurance) ว่า “ไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลนี้ให้เป็นไปตามหลัก การบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้า” อย่างไรก็ดี ในการแสดงความเชื่อ มั่นนี้ ผู้สอบบัญชีจะต้องหาหลักฐานให้เพียงพอสนับสนุนความเชื่อมั่นดังกล่าวด้วย หากผู้ สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบการแสดงความเชื่อมั่นแล้ว ก็ไม่ควรแสดงความ เชื่อมั่นดังกล่าว

 วิธีการปฏิบัติงานตามแต่จะได้ตกลงกัน (Agreed-upon Procedures) ใน กรณีที่ลูกค้าประสงค์จะให้ผู้สอบบัญชีให้บริการบางประเภทโดยเฉพาะเจาะจง เช่น การ ตรวจสอบรายละเอียดลูกหนี้ การตรวจสอบอุปกรณ์สำนักงาน และการตรวจสอบบัญชีเงิน ลงทุน เป็นต้น โดยต้องการให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรายการนั้นๆ โดยละเอียด มิใช่การ ทดสอบเช่นในกรณีการสอบบัญชี เช่น ในการตรวจสอบลูกหนี้ ลูกค้าอาจต้องการให้ผู้สอบ บัญชีหารายละเอียดลูกหนี้แต่ละราย ลูกหนี้ยังมีตัวตนอยู่หรือไม่ อาจติดตามเก็บหนี้ได้หรือไม่ และยอดรวมรายละเอียดลูกหนี้ตรงกับยอดในบัญชีคุมหรือไม่ เมื่อได้ทราบวัตถุประสงค์ของ การตรวจสอบแล้ว ผู้สอบบัญชีจะวางวิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงประกอบรายงาน ของตน แล้วจะรายงานข้อเท็จจริงที่ตรวจพบให้ลูกค้าทราบ บริการดังกล่าวถือเป็น Fact Findings ส่วนการตัดสินใจ เช่น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และการปรับปรุงยอดคงเหลือ ในบัญชีคุมยอดให้ตรงกับรายละเอียดลูกหนี้ เป็นหน้าที่ของลูกค้าที่จะพิจารณาตัดสินใจเอง

การประกอบและจัดเสนอข้อมูล (Compilations) ลูกค้าอาจประสงค์ใช้บริการ ผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านบัญชี ช่วยรวบรวมข้อมูล จัดประเภท และจัดทำงบการเงิน จากข้อมูลที่มีอยู่โดยไม่ต้องทดสอบความถูกต้องของรายการ บริการ ดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์และมิได้เป็นการจัดหาหลักฐาน เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดง ความเห็นหรือความเชื่อมั่นใดๆ เกี่ยวกับงบการเงินนั้น อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งบการเงินมักจะมี ความมั่นใจอยู่บ้างเมื่องบการเงินนั้นได้จัดทำโดยผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถใน วิชาชีพและใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ในกรณีนี้ผู้สอบบัญชีต้องระมัดระวัง มิให้ลูกค้านำชื่อของผู้สอบบัญชีไปเกี่ยวข้องกับงบการเงินในลักษณะที่จะทำให้ผู้ใช้งบการเงิน เข้าใจผิดว่างบการเงินนั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว

ในทางปฏิบัติ ลูกค้ามักจะขอให้ผู้สอบบัญชีจัดทำงบการเงินโดยจัดหาข้อมูลให้ และให้ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบข้อมูลและงบการเงินด้วย ในกรณีเช่นนี้ การจัดทำงบการเงินและหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของการสอบบัญชี และคิดค่าบริการรวมไปกับการ สอบบัญชีได้

 

วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชี CPA

วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ

 

การตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้ผู้สอบบัญชี ได้มาซึ่งหลักฐานประกอบรายการที่ปรากฏในงบการเงิน เพื่อให้ได้ผลสรุปที่อาจใช้เป็น หลักเกณฑ์ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินที่ตรวจสอบว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระ สำคัญ และเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ งานตรวจสอบของผู้สอบบัญชีเพื่อ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 ด้าน คือ

  1. งานตรวจสอบระบบข้อมูล (Audit of the Information Systems) 2. งานตรวจสอบรายการบัญชีและยอดคงเหลือ (Substantive Audit Tests of Transactions and Balances)
  2. งานตรวจสอบบัญชีและสินค้าคงเหลิอ (Substantive Audit Tests of Transaction and Balances)
  3. งานตรวจสอบระบบข้อมูล

การตรวจสอบระบบข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ธุรกิจที่ตรวจสอบ และการศึกษาระบบการควบคุมภายใน

(1) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจที่จะตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะต้องมีความ เข้าใจดีเกี่ยวกับธุรกิจที่ลูกค้าประกอบอยู่ เพื่อช่วยให้วางแนวการตรวจสอบได้รัดกุมขึ้นใน ด้านที่มีความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงในการตรวจสอบ (Audit Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณี ที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างไม่ถูกต้องต่องบการเงินที่มีข้อผิดพลาดอันเป็นสาระสำคัญ ความผิดพลาดอย่างมีสาระสำคัญนี้อาจเกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจหรือเจตนาก่อให้เกิดขึ้นก็ได้

การวิเคราะห์ธุรกิจของลูกค้าจะช่วยในการประเมินความเสี่ยง โดยช่วยให้ผู้สอบ บัญชีทราบว่าผู้บริหารจงใจก่อให้เกิดความผิดพลาดในข้อใด และช่วยให้ทราบถึงสาเหตุที่อาจ ทำให้กิจการไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ รวมทั้งรายการที่มีความยุ่งยากซับซ้อนอันอาจมีการ บันทึกบัญชีผิดพลาด นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีอาจศึกษาและประเมินผลการควบคุมภายใน เพื่อที่จะทราบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจที่เรียกว่า Control Risk ด้วย ในการวิเคราะห์ ธุรกิจที่ตรวจสอบ อาจพบว่าความเสี่ยงเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

กิจการประเภทเดียวกัน อาจทำให้ผู้บริหารพยายามแสดง เป็นต้น

  1. การแข่งขันของ กำไรสูงโดยรับรู้รายได้ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือยึดเวลารับรู้ค่าใช้จ่ายออกไป ธุรกิจลดต่ำลง อาจสืบเนื่องมาจากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ของ กิจการลดลง สินค้าขายไม่ออก ผู้สอบบัญชีควรสังเกตว่ากิจการได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด และจะสามารถดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่เพียงใด ในกรณีที่ผลกระทบมีมาก ข้อสมมติเกี่ยวกับ การดำรงอยู่ของกิจการในการบันทึกบัญชีอาจไม่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ในตลาดลดลง อาจมีปัญหา
  2. ธุรกิจลดต่ำลง อาจสืบเนื่องมาจากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ของสินค้าลดลง สินค้าขายไม่ออก ผู้สอบบัญชีควรสังเกตุว่ากิจการได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดและสามารถดำรงค์อยู่ได่ต่อไปหรือม่เพียงใด ในกรณ๊ที่มีผลกระทบมากข้อสมมุติเกี่ยวกับการดำรงค์อยู่ของกิจการการบันทึกยัฯชีอาจไม่เหมาะสมในสภาวะปัจจุบัน
  3. ผลิตไม่เต็มที่ เนื่องจากความต้องการ สินค้าคงเหลือล้าสมัยหรือเก่าเก็บ หรือมีปริมาณสูงเกินไป หรือต้นทุนสูงเนื่องจากรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง
  4. กิจการที่มีความเกี่ยวพันกัน (Related Parties) ในฐานะบริษัทใหญ่ บริษัท ย่อย หรือบริษัทที่มีกรรมการชุดเดียวกัน รายการค้าระหว่างบริษัทอาจมิใช่รายการที่เกิด ขึ้นจริง หรือมิได้บันทึกในราคายุติธรรม

(2) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีจะศึกษาถึง ระบบการควบคุมภายในเพื่อที่จะทราบถึงประเภทของข้อผิดพลาดและประเมิน Control Risk ระบบการควบคุมภายในเป็นวิธีการที่วางไว้เพื่อป้องกันการผิดพลาดอันมีสาระสำคัญ ซึ่งทำให้ ลดปริมาณหลักฐานที่จะต้องหามาเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของรายการค้าและยอดคงเหลือ ในการศึกษาระบบการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีจะต้องทำความเข้าใจถึงการ ควบคุมด้านต่างๆ ระบบบัญชี และวิธีการควบคุม ซึ่งทำให้ผู้สอบบัญชีสามารถที่จะ 1. ทราบประเภทของข้อผิดพลาดที่สำคัญ 2. ทราบถึงปัจจัยที่อาจกระทบต่อความเสี่ยงในการผิดพลาด บัญชีและยอดคงเหลือ

  1. วางวิธีการทดสอบรายการ
  2. งานตรวจสอบรายการบัญชีและยอดคงเหลือโดยการทดสอบในสาระสำคัญ (Substantive Tests)

เมื่อผู้สอบบัญชีได้ทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในแล้ว ก็จะทำการทดสอ รายการบัญชีและยอดคงเหลือ วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบก็เพื่อที่จะหาหลักฐานมาประกอ ความเห็น วิธีการตรวจสอบที่จะใช้จะขึ้นอยู่กับสภาพและปริมาณของหลักฐานที่ต้องก ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าวิธีการตรวจสอบกำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของก ตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบอย่างหนึ่งอาจทำให้บรรลุวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ประการ

การตรวจนับหลักทรัพย์ทำให้ทราบว่ามีหลักทรัพย์อยู่จริง (Existence) จดทะเบียนในนามของ กิจการ (Rights) รายละเอียดต่างๆ ของหลักทรัพย์ ตลอดจนภาระผูกพันที่จะนำไปเปิดเผย ในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Presentation and Disclosure)

การทดสอบสาระสำคัญ (Substantive Tests) หมายถึง การตรวจสอบหลักฐานประกอบ รายการที่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งจะกระทำภายหลังการตรวจสอบระบบข้อมูลดังกล่าว ข้างต้นแล้ว เพื่อที่จะให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินได้ จําเป็นจะ ต้องกำหนดเป้าหมายในการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้ คือ

  1. ความมีอยู่หรือเกิดขึ้นจริง (Existences or Occurrence)
  2. ความถูกต้องครบถ้วน (Completeness)
  3. กรรมสิทธิ์และภาระหนี้สิน (Rights and Obligation)
  4. การตีราคาหรือการกระจายราคา (Valuation or Allocation)
  5. การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure)

 

อ่านเพิ่มเติม
  1. ความมีอยู่หรือเกิดขึ้นจริง (Existence or occurrence) งบการเงินที่ตรวจสอบ เป็นการสำแดงของผู้บริหารว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินเป็นจำนวนเท่าใดในแต่ละประเภท ผู้สอบบัญชีจะทดสอบ ในสาระสำคัญเพื่อให้ทราบว่า มีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่จริงเท่าใด มี รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นจริง และรายการที่ปรากฏในงบการเงินมิได้รวม รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้งบการเงินผิดไป ซึ่งเรียกว่าเป็น Erors of Commission
  2. ความถูกต้องและครบถ้วนของรายการ (Completeness) ในทางปฏิบัติ มักจะ ปรากฏว่าสินทรัพย์และรายได้มีความโน้มเอียงที่จะแสดงไว้สูงกว่าที่มีอยู่และเกิดขึ้นจริง และ ตรงกันข้าม หนี้สินและค่าใช้จ่ายมักจะแสดงไว้ต่ำกว่าจำนวนที่มีอยู่และเกิดขึ้นจริง ซึ่งมีผล ทำให้สินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิสูงกว่าที่ควร ดังนั้น ในการตรวจสอบ จึงจำเป็นต้องเน้นถึง ความถูกต้องและครบถ้วนของรายการ (Completeness) โดยถือหลักว่ารายการค้าที่เกิดขึ้น ได้นำมาลงบัญชีโดยถูกต้องและครบถ้วนแล้ว
  3. กรรมสิทธิ์และภาระหนี้สิน (Rights and Obligation) ผู้สอบบัญชีจะต้องหาหลักฐาน เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่า สินทรัพย์ตามที่ปรากฏในงบการเงินเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ และ หนี้สินเป็นภาระความรับผิดชอบของกิจการ กล่าวคือ รายการสินทรัพย์แต่ละประเภทมิได้ รวมสินทรัพย์ที่มิใช่กรรมสิทธิ์ของกิจการ เช่น สินค้ารับฝากขาย หรือสินค้าที่ขายไปแล้วแต่ ยังไม่ได้ส่งของให้ผู้ซื้อ และหนี้สินเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจมิใช่หนี้สินส่วนบุคคล
  4. การตีรราคาหรือหรือการกระจายราคา (Valuation or Allocation) ผู้สอบบัญชีจะต้อง 4. การตีราคาหรือการกระจา ตรวจสอบให้ทราบว่า สินทรัพย์และหนี้สินได้บันทึกและแสดงไว้ในงบการเงินโดยถูกต้องตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่ การกระจายราคาทุนของทรัพย์สินเป็นค่าเสื่อมราคา การคิดต้นทุนของสินค้าได้รวมส่วนเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้วหรือไม่ นโยบายเกี่ยวกับ การตั้งดอกเบี้ยจ่ายเป็นราคาทุนของทรัพย์สิน นโยบายการตั้งค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนเป็นราคาทุน เหล่านี้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
  5. การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure) การ จัดทำงบการเงินเป็นการแสดงผลการจดบันทึกรายการค้าโดยจัดประเภทและเรื่องสำคัญให้ ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รายการที่มีลักษณะเหมือนกันอาจบันทึกไว้ในบัญชี เดียวกัน แต่เมื่อนำมาแสดงในงบการเงิน อาจจำเป็นต้องแยกประเภทให้ถูกต้อง เช่น ทรัพย์สินที่มิได้ใช้งานแล้วรอการจำหน่าย หรือเครื่องจักร เครื่องมือที่มีสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งนำไปลงบัญชีไว้รวมกับสินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ รวมทั้งหนี้สินระยะยาว ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีซึ่งรวมอยู่ในบัญชีหนี้สินระยะยาว เป็นต้น ผู้สอบบัญชี ผู้ จะต้องตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อมิให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดพลาดและขาดข้อมูลสำคัญ สำหรับการตัดสินใจ ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่า จ มีความครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อมิให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดพลาด

งานตรวจสอบบัญชี

ปิดงบการเงิน ปิดงบด่วน งบย้อนหลัง

บริษัท และห้างหุ้นส่วน

รับรองโดยผู้สอบบัญชี CPA

 เริ่มต้น 9,500 บาท

***ค่าบริการขึ้นอยู่กับรายได้

ความเสี่ยง และความซับซ้อนของกิจการ***

  • ตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต (CPA) ตามที่กฎหมายกำหนด
  • จัดทำรายงานเสนอข้อบกพร่องของการควบคุมภายในที่ตรวจพบ (ถ้ามี)
  • บริการจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบการเงิน
  • ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย และประกาศของสภาวิชาชีพบัญชีอย่างเคร่งครัด
  • ให้คำปรึกษา และยินดีให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกท่าน
  • บริการรวดเร็ว ตรงเวลา ในราคาที่เหมาะสม

 !!!PROMOTION!!!

ปิดงบเปล่า ราคาเดียว 9,000 บาท

  • ปิดงบการเงิน
  • รับรองงบโดย CPA
  • ยื่นแบบ ภงด.50
  • นำส่งสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น
  • แบบนำส่งงบการเงิน
  • รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
  • โฆษณาหนังสือพิมพ์เชิญประชุม
ผู้สอบบัญชี

ประเภทของการสอบบัญชี

ประเภทของงานสอบบัญชี

งานสอบบัญชีแต่ละรายย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไป เนื่องจากกิจการค้าแต่ละแห่ง ย่อมมีลักษณะพิเศษเฉพาะธุรกิจของตน และมีปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ที่ไม่เหมือนกันด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานสอบบัญชีแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน แต่ผู้สอบ บัญชีต้องปฏิบัติงานให้เข้าขั้นมาตรฐานการสอบบัญชีเดียวกัน

ในสมัยเริ่มแรกของวิชาชีพสอบบัญชี ได้มีการแยกงานสอบบัญชีออกเป็นการตรวจสอบ โดยละเอียด การตรวจสอบโดยวิธีทดสอบ การตรวจสอบงบดุล การตรวจสอบทั่วไป และกา ตรวจสอบเฉพาะเรื่อง เป็นต้น ในปัจจุบัน การแบ่งแยกดังกล่าวไม่มีความสำคัญนัก เพรา ในปัจจุบัน ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบให้ได้หลักฐานจ เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ว่างบการเงินมีความถูกต้องในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีหรือไ อย่างไรก็ตาม หากประสงค์จะจำแนกประเภทงานสอบบัญชีในปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในกา ศึกษาแล้ว อาจแบ่งได้ดังนี้

ในทางปฏิบัติ ลูกค้ามักจะขอให้ผู้สอบบัญชีจัดทำงบการเงินโดยจัดหาข้อมูลให้ และให้ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบข้อมูลและงบการเงินด้วย ในกรณีเช่นนี้ การจัดทำงบการเงินและหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของการสอบบัญชี และคิดค่าบริการรวมไปกับการ สอบบัญชีได้

  1. การตรวจสอบงบการเงินตามบทบัญญัติของกฎหมาย ได้แก่ การตรวจสอบโดย ผู้สอบบัญชี ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของบริษัทหรือผู้มีหน้าที่ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและ สาขาของบริษัทต่างประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง เพื่อแสดงความเห็นว่างบการเงินที่ได้ตรวจสอบ แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควร และได้ทำขึ้นตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อนหรือไม่

        การตรวจสอบงบการเงินของบริษัทย่อยหรือสาขาในประเทศไทยตามความต้องการ ของบริษัทใหญ่หรือสานักงานใหญ่ในต่างประเทศ หรือเพื่อยื่นต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ในต่างประเทศ โดยผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทใหญ่หรือ สำนักงานใหญ่ การแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีในกรณีเช่นนี้จะต้องคำนึงถึงหลักการบัญชี ซึ่งบริษัทใหญ่หรือสานักงานใหญ่ถือปฏิบัติด้วย

  1. การตรวจสอบงบการเงินซึ่งจัดท่าขึ้นเพื่อประโยชน์ในการกู้ยืมเงิน โดยผู้สอบบัญชี ซึ่งธนาคารหรือผู้ให้กู้ให้ความเชื่อถือ การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในกรณีเช่นนี้ย่อมกระทำได้ โดยมีความอิสระอย่างเต็มที่
  2. การตรวจสอบงบการเงินเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนในการตัดสินใจเข้าถือหุ้นใน บริษัทโดยผู้สอบบัญชีซึ่งแต่งตั้งโดยผู้ประสงค์จะลงทุนนั้น ในกรณีเช่นนี้ ผู้สอบบัญชีดังกล่าว อาจเป็นคนละคนกับผู้สอบบัญชีที่ได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่ ในการปฏิบัติงาน มัก จะเพ่งเล็งถึงความแตกต่างของนโยบายการบัญชีที่ถือปฏิบัติและรวมทั้งเกณฑ์การตีราคา ทรัพย์สินต่างๆ

บริการเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

ขอบเขตของการตรวจสอบบัญชี

ขอบเขตของการตรวจสอบ

  •         ขอบเขตของการตรวจสอบงบการเงินต้องเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบที่ได้ กำหนดไว้โดยสมาคมวิชาชีพ หน่วยราชการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุม และความ ต้องการของลูกค้า การตรวจสอบจะต้องครอบคลุมธุรกิจของลูกค้าในทุกด้านที่เกี่ยวกับงบ การเงินที่ตรวจสอบ โดยพิจารณาว่าข้อมูลตามที่บันทึกไว้ในบัญชีและข้อมูลอื่นๆ เป็นข้อมูล ที่เชื่อถือได้และเพียงพอในการจัดทำงบการเงิน
  •           ผู้สอบบัญชีควรต้องทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในของกิจการ และประเมิน ความเสี่ยง เพื่อทราบประเภทของความผิดพลาดอันเป็นสาระสำคัญที่อาจเกิดขึ้นในงบการเงิน สาเหตุของความผิดพลาด และวิธีการตรวจสอบเพื่อให้พบข้อผิดพลาดนั้น อีกประการหนึ่ง
  •           เนื่องจากการบันทึกบัญชีย่อมต้องอาศัยการประมาณในบางกรณี เช่น การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ การประมาณอายุการใช้งานของทรัพย์สิน การแปลงค่ารายการที่เป็นเงินตราต่าง ประเทศ เป็นต้น ซึ่งหลักเกณฑ์การประมาณนี้จะต้องแจ้งให้ทราบไว้เป็นนโยบายการบัญชี ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเหมาะสม และเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อกาหนด ข้อบังคับ และประกาศของหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี
  •        ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับงบการเงินที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีจะต้องวางวิธีการ ตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจโดยมีเหตุผลว่า งบการเงินมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระ สำคัญ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ได้กาหนดไว้ แต่เนื่องจากการตรวจสอบของผู้สอบ บัญชีใช้วิธีทดสอบ จึงอาจมีข้อผิดพลาดในระบบการควบคุมภายในหรือข้อผิดพลาดในงบ
  •        การเงินที่ตรวจสอบไม่พบ และในบางกรณีอาจมีสาระสำคัญได้ ผู้สอบบัญชีจะต้องตรวจสอบ รายการในงบการเงินว่าตรงกับสมุดบัญชีและหลักฐานอื่นๆ ที่จัดหามา เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่า งบการเงินได้จัดทาโดยจำแนกประเภทตรงตามรายการบัญชีและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และ ถือปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งได้ถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ และได้มีการเปิดเผย ข้อมูลโดยถูกต้องและครบถ้วนแล้ว
  •         การแสดงความเห็นโดยมีเงื่อนไข หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือ ไม่แสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี เกี่ยวกับงบการเงินที่ตรวจสอบ จะต้องเป็นไปตามหลัก เกณฑ์ที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

 

 

 

 

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

 

ศึกษาเพิ่มเติม

คลิก

สรุป งานของผู้

  1. การตรวจสอบการปฏิบัติงาน (Operational Auditing) เป็นการตรวจสอบการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ และประเมินผล เพื่อทราบประสิทธิภาพของงาน และเพื่อ ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานที่ยังบกพร่องให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ Auditing) เป็นการตรวจ
  2. การตรวจสอบการบริหารงาน (Management สอบเพื่อ ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เพื่อทราบประสิทธิภาพและปรับปรุงให้ ดขน
  3. การตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Auditing) เป็นการตรวจสอบเพื่อทราบ ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน และหาทางแก้ไขข้อบกพร่องของการควบคุม ด้านการเงิน

           การตรวจสอบภายในมีขอบเขตของงานกว้างขวางกว่าการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชี ภายนอก ซึ่งผลงานเน้นประโยชน์ต่อบุคคลภายนอกผู้ใช้ประโยชน์จากงบการเงิน เช่น ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน และหน่วยราชการที่ควบคุมธุรกิจ เป็นต้น แต่งานของผู้ตรวจสอบภายใน รวมถึงงานด้านการเงินการบัญชี การปฏิบัติงาน และการบริหารงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล ทั้งภายในกิจการและบุคคลภายนอก และเน้นหนักไปทางด้านการประเมินประสิทธิภาพของ การปฏิบัติงานและประสิทธิผลของผู้บริหาร

          ความแตกต่างระหว่างการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีภายนอกและการตรวจสอบ ภายในอีกประการหนึ่ง คือ ในด้านความรับผิดชอบในเรื่องรายงาน ผู้สอบบัญชีภายนอกจะ รายงานต่อผู้ถือหุ้น แต่ผู้สอบบัญชีภายในเป็นเจ้าหน้าที่ของกิจการที่ตรวจสอบ และมีความ เป็นอิสระในขอบเขตจำกัดซึ่งน้อยกว่าผู้สอบบัญชีภายนอก งานของผู้สอบบัญชีภายในจะเป็น ที่เชื่อถือได้มากขึ้นหากได้รายงานต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่มีระดับสูงกว่าหน่วยงานที่ถูก เช่น กำหนดให้รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ บริษัท ผู้สอบบัญชีภายในจะสามารถทำงานด้วยความเป็นอิสระมากที่สุด คณะกรรมการ ตรวจสอบมักจะประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่เป็นบุคคลภายนอก ที่มิใช่กรรมการบริหาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *