บอดี้การ์ดไทย
บริศัท เรา เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้าน บอร์ดี้การ์ด อันดับ 1 ของ ประเทศไทย เรามีทีมงานบอดี้การ์ด ที่ได้รับการฝึก อย่างมืออาชีพ ให้ บริการ บอดี้การ์ดบุคคลสำคัญ บุคคลVIP ดูแลบุคคล วีไอพี และบอดี้การ์ดส่วนตัว บอดี้การ์ดนักธุรกิจ จากสถานการณ์การก่อการร้ายในปัจจุบัน มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มมาตรการในการ รักษาความปลอดภัยบุคคล และสถานที่ เพื่อมิให้อันตราย อันเกิดจากการก่อการร้าย ทั้งต่อบุคคล และสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การก่อเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าว เพื่อหวังผลประโยชน์ใด ๆ จากความสูญเสียที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลของทุกประเทศตระหนัก และ ให้ความสำคัญในมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหา มาตรการที่ ทุกประเทศต่างให้ความร่วมมือหรือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันมาตลอด คือ มาตรการการรักษา ความปลอดภัยบุคคล และสถานที่
ดังนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้หลักการยุทธวิธี ตลอดจนแนวทางในการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากทุกหน่วยที่ เกี่ยวข้อง ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะสามารถคุ้มครองบุคคล และสถานที่ให้ปลอดภัยได้ สำหรับ มาตรการรักษาความปลอดภัยนั้น สามารถยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ สภาพแวดล้อม ของบุคคลสำคัญ และสถานที่
ความมุ่งหมายของบอดี้การ์ดคือ
- 1. เพื่อคุ้มครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลสำคัญ และครอบครัว ให้เกิด ความปลอดภัย
- 2. เพื่อคุ้มครองป้องกันสถานที่ให้เกิดความปลอดภัยจากภัยคุกคามต่าง ๆ
- 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการใช้มาตรการรักษา ความปลอดภัยบุคคลและสถานที่ ในสภาวะปกติ และในสถานการณ์พิเศษ
คำจำกัดความของบอดี้การ์ดคือ
การรักษาความปลอดภัยบุคคล คือ มาตรการทั้งปวงที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ความ คุ้มครองป้องกันบุคคลสำคัญให้พ้นจากอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ หรือความจงใจ ที่กระทำของฝ่ายตรงข้าม
การรักษาความปลอดภัยสถานที่ หมายถึง การกำหนดมาตรการเพื่อพิทักษ์รักษา ให้ความปลอดภัยแก่ที่สงวน อาคาร และสถานที่ของหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และข้อมูลข่าวสารในอาคารและสถานที่ดังกล่าว ให้พ้นจากการโจรกรรม การจารกรรม การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย หรือเหตุอื่นใดอันอาจทำให้เสียความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐได้
สถานที่ หมายถึง สถานที่ของทางราชการหรือสถานที่ของเอกชนที่สำคัญด้วย
สถานการณ์พิเศษ หมายถึง เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงในระดับสูงก่อให้เกิดความ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล และสถานที่
ประเภทของการรักษาความปลอดภัยบอดี้การ์ด มี ๓ ประเภท
- การรักษาความปลอดภัยบุคคล
- 2. การรักษาความปลอดภัยสถานที่
- 3. การรักษาความปลอดภัยเอกสาร
แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียง ๒ ประเภท คือ การรักษาความปลอดภัยบุคคล และการรักษาความปลอดภัยสถานที่ เท่านั้น
หลักการรักษาความปลอดภัยบอดี้การ์ด
พ.ศ.๒๕๕๒ การรักษาความปลอดภัย ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หมายความว่า มาตรการและการดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษา และคุ้มครองป้องกันสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ให้พ้นจากการรั่วไหลจากการจารกรรม การก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย การก่อการร้าย การกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ และการกระทำอื่นใดที่เป็นการเปิดเผยสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ดังนั้นในการดำเนินการ รักษาความปลอดภัย จึงต้องมีหลักการในการปฏิบัติดังนี้
1.. มีการอำนวยการ และการจัดการที่ดี ได้แก่ การจัดกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยให้เพียงพอ เหมาะสมกับภารกิจ จัดทำแผนผังรายละเอียดการปฏิบัติ ตลอดจนแบ่งแยก หน้าที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้เป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการสับสนเมื่อเกิดเหตุการณ์ จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในการรักษาความปลอดภัย โดยเลือกเอาเฉพาะ อุปกรณ์ที่จำเป็นเท่านั้น
- 2. มีการข่าวที่ดี ในการดำเนินการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่หน่วยกำลังจะเข้าปฏิบัติภารกิจใดภารกิจหนึ่งเกี่ยวกับสถานภาพการ ปฏิบัติการ และผลการปฏิบัติของหน่วยที่เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา
- 3. มีการวิเคราะห์ข่าว โดยการนำข้อมูลข่าวสารของหน่วยที่มีอยู่มารวมกับข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจาก ผบ.หน่วย และฝ่ายอำนวยการอื่น ๆ ซึ่งจะต้องให้ข้อมูลฝ่ายตรงข้ามมาดำเนิน กรรมวิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือแนวคิดในการปฏิบัติงาน หนทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการ เปรียบเทียบ ประกอบการตัดสินใจของ ผบ.หน่วย ที่จะเลือกวิธีการปฏิบัติงานแต่ละครั้งให้ได้วิธี หรือทางเลือกที่ดีที่สุด และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ
- 4. มีการวางแผนที่ดี ในการรักษาความปลอดภัยทุกครั้งจะต้องมีการประชุม วางแผนร่วมกันระหว่างหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทุกหน่วย ในการกำหนดแนวทาง และ แผนการปฏิบัติให้ครอบคลุม ตลอดจนต้องบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานได้ทำการศึกษา และเตรียมการได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
หลักการรักษาความปลอดภัยบุคคล
ประเภทของบุคคลสำคัญ
ในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกประเภทของ ต้องแยก บุคคลสำคัญออกให้แน่ชัด เพื่อกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองป้องกันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับเวลา สถานที่ และสถานะของบุคคลสำคัญนั้น ๆ
บุคคลสำคัญ ได้แก่
- บุคคลสำคัญทางธุรกิจ
- ผู้นำทางการเมือง
- ผู้นำทางศาสนา
- ผู้นำทางทหาร
- นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ
- แขกของรัฐบาล หรือผู้แทนประเทศ
- บุคคลสำคัญในทัศนะของชุมชน
- บุคคลในสถานการณ์พิเศษ
สาเหตุจูงใจให้มีการลอบประทุษร้าย
- สาเหตุทางการเมือง เนื่องจากนักการเมืองที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมีการกำจัด กันเอง เพื่อให้ตนเองได้มีอำนาจทางการเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง หรือขัดขวางในทางการเมือง หรือ เกิดจากความมักใหญ่ใฝ่สูง ต้องการที่จะเป็นผู้นำ หรือรัฐบาลบริหารประเทศ จึงทำการปฏิวัติ รัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
- สาเหตุทางเศรษฐกิจ ผู้ถูกประทุษร้ายอาจเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการ กำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ และการเงิน ซึ่งอาจจะทำให้บุคคลบางกลุ่มบางพวกสูญเสีย ผลประโยชน์ จึงหาทางกำจัดโดยคิดว่าเมื่อกำจัดได้แล้วฐานะความเป็นอยู่ของตนเองจะดีขึ้น
- สาเหตุทางความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ ผู้ทำการประทุษร้ายอาจมีความเชื่อ ในลัทธิอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น สังคมคอมมิวนิสต์กับสังคมประชาธิปไตย หรือความเชื่อ ในศาสนาที่แตกต่างกันทำให้มีการประทุษร้ายต่อผู้นำในลัทธิ หรืออุดมการณ์นั้น ๆ ได้
- สาเหตุทางสุขภาพจิต ผู้ทำการประทุษร้ายอาจเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ไม่ปกติ เช่น โรคจิต คนคุ้มดีคุ้มร้าย หรือพวกอยากดัง อยากให้ชื่อของตนเองได้ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ในสื่อ หรือสิ่งพิมพ์ต่าง
- สาเหตุจากการขัดแย้งส่วนตัว โดยผู้ที่ถูกประทุษร้ายกับผู้ทำการประทุษร้าย มีความขัดแย้งกันในเรื่องส่วนตัว เช่น ชู้สาว ผลประโยชน์ขัดกัน หรือแก้แค้นกันในหมู่เครือญาติ
- สาเหตุจากการได้อามิสสินจ้าง โดยผู้ที่ทำการประทุษร้ายไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีความสัมพันธ์กับผู้ถูกประทุษร้ายแต่อย่างใด แต่ผู้ที่ทำการประทุษร้ายได้รับการจ้างวานจาก บุคคลอื่นให้กระทำการแทน ผู้ทำการประทุษร้ายกรณีนี้มักมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รัดกุม
- สาเหตุจากการถูกบังคับ ขู่เข็ญ โดยผู้ทำการประทุษร้ายไม่ได้มีเจตนาหรือเต็มใจ ที่จะกระทำ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ขู่เข็ญ ให้ต้องกระทำ เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือความเป็นอยู่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นต้น
สรุปแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ มีด้วยกัน ๓ ประเภท
- 1. แผนหลัก หรือแผนถาวร เป็นแผนสำหรับรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ ที่จะต้องเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ตามกำหนดการที่ได้วางไว้ และจะนำมาใช้หากว่าไม่มีอุปสรรค ในการปฏิบัติ หากว่าการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งของบุคคลสำคัญเป็นกิจวัตร ประจำวันแล้ว แผนหลัก หรือแผนถาวรจะนำมาพิจารณาใช้สลับกับแผนอื่น ๆ ที่ได้วางไว้เพื่อไม่ให้ เกิดการปฏิบัติที่ซ้ำ ๆ กัน จนฝ่ายตรงข้ามจับทางถูกได้ แผนหลัก หรือแผนถาวรนี้ไม่ควรที่จะใช้ นานเกินกว่า ๓ เดือน เพราะไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- 2. แผนรอง เป็นแผนที่เตรียมไว้ในกรณีที่แผนหลัก หรือแผนถาวรไม่สามารถ นำมาใช้ได้ เช่น ตามแผนหลักบุคคลสำคัญจะต้องเดินทางโดยเครื่องบิน แต่พอถึงเวลาเดินทาง ลมฟ้าอากาศไม่อำนวย ต้องนำแผนรองมาใช้โดยเปลี่ยนการเดินทางเป็นรถไฟ หรือรถยนต์แทน
- 3. แผนฉุกเฉิน เป็นแผนที่เตรียมไว้สำหรับนำตัวบุคคลสำคัญหลบหนีออกจาก บริเวณที่เกิดเหตุร้ายขึ้น สำหรับแผนฉุกเฉินนี้จะต้องเก็บรวบรวมไว้กับแผนหลัก และแผนรอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษา และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ทันท่วงที
เราสามารถดูแลท่านได้ ปลอดภัยไร้กังวล